สายพันธุ์โอมิครอนนี้ ยาที่รักษา COVID ยังได้ผลอยู่ไหม? ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานระบุว่า สายพันธุ์นี้ดื้อต่อยาที่ใช้รักษา ต้องรอการรายงานต่อไป เพราะยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) หรือว่า ยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ต่างก็มีกลไกในการออกฤทธิ์ที่บริเวณเชื้อจะเข้าเซลล์และแบ่งตัว ซึ่งใกล้เคียงกับบริเวณที่เกิดการกลายพันธุ์ของเชื้อ (Mutation) สายพันธุ์โอมิครอนนี้
สำหรับประเด็นเกี่ยวกับวิธีในการตรวจวินิจฉัย ก็เป็นอีกประเด็นที่เราต้องให้ความสนใจ โดยในวิธีการวินิจฉัยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ดังนี้
การตรวจด้วย RT-PCR (Real Time PCR) การตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีนี้คิดว่าไม่แตกต่างจากสายพันธุ์อื่น เราสามารถตรวจ Detect ได้หลายยีน (Genes) และยังไม่พบการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง N gene กับ ORF gene
การตรวจด้วย Rapid Antigen Test (ATK) สำหรับการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทว่ามีการทดสอบตรงตำแหน่งส่วนไหนของเชื้อไวรัส หากมีการทดสอบตำแหน่งที่เกิดการกลายพันธุ์ก็จะมีโอกาสเกิดผลลบลวง (False Negative) ได้เยอะขึ้น ซึ่งการเลือกใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit ควรเลือกใช้ชุดตรวจที่ได้มาตรฐาน และดูที่ความไว (Sensitivity) ของชุดตรวจโควิดนั้นด้วย
สามารถดูความแม่นยำของชุดตรวจคัดกรอง Antigen Test Kit โดยดูที่ค่าความไว (Sensitivity), ความจำเพาะ (Specificity), ผลบวกปลอม (False Positive), ผลลบปลอม (False Negative) ของชุดตรวจ โดยชุดตรวจความมีค่าความไว-ความจำเพาะไม่ต่ำกว่า 80%