͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ออมสิน เผยเงินสำรองพุ่ง 4 หมื่นล้าน ไม่ห่วง NLP กระทบฐานะ  (อ่าน 109 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Naprapats

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14930
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
ออมสิน คาด NPL ณ สิ้นปี 64 อยู่ที่ 2% ต้นๆ ชี้ไม่น่าห่วง หลังตั้งสำรองส่วนเกินสูง 4 หมื่นล้านบาท มั่นใจสถานการณ์เศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น ลูกหนี้เริ่มกลับมาชำระหนี้ได้ตามเดิม

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ปัจจุบันตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL ของธนาคารอยู่ที่ประมาณ 2% และคาดว่า ณ สิ้นปี 2564 จะปรับขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 2% ต้นๆ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวไม่กระทบต่อฐานะของธนาคาร เนื่องจากมีการตั้งสำรองส่วนเกินเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 36,000 ล้านบาท คาด ณ สิ้นปีนี้จะอยู่ที่ 40,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ 5,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากเดิม 7 เท่า

 

“สำรองส่วนเกินที่เพิ่มขึ้นมา 7 เท่าจากเดิม ทำให้รองรับตัวหนี้เสีย หรือ NPL ได้ถึง 60,000-70,000 ล้านบาท แต่ไม่ได้หมายความว่าออมสินจะมี NPL สูงถึง 70,000 ล้าน แต่เงินสำรองส่วนนี้จะช่วยรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้” นายวิทัย กล่าว   

วิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน 
วิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน


ขณะที่อัตรากำไรในปีนี้คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าปีก่อน ซึ่งยอมรับว่าจากวิกฤตที่เกิดขึ้น กำไรที่ได้จึงมาจากการลดต้นทุน ซึ่งออมสินสามารถลดต้นทุนการเงินและการบริหารจัดการ ได้ถึง 10,000 ล้านบาท และจากการเพิ่มสำรองส่วนเกิน โดยกำไรที่ได้มา จะถูกนำไปสนับสนุนอัตราดอกเบี้ยจากการออกมาตรการสินเชื่อต่างๆ

 

ทั้งนี้ปัจจุบัน ธนาคารมีสินทรัพย์รวมอยู่ที่ 3 ล้านล้านบาท เงินฝากอยู่ที่ 2.5 ล้านล้านบาท และสินเชื่ออยู่ที่ 2.2 ล้านล้านบาท โดยการปล่อยสินเชื่อผ่านแอป MyMo ล่าสุดปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 1.5 ล้านราย คาดจะปล่อยได้เพิ่มจนถึงสิ้นปีนี้อีก 2 แสนราย

 


นายวิทัย ยังกล่าวด้วยว่า มั่นใจสภาพเศรษฐกิจหลังเปิดประเทศจะกลับมาดีขึ้นอย่างแน่นอน และจะส่งผลให้ภาคธุรกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้ด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน โดยลูกหนี้ของธนาคารออมสินก็เริ่มมีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว และสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ และสินเชื่อที่ออมสินเข้าไปช่วยฐานรากส่วนใหญ่ก็มีรัฐมาช่วยสนับสนุนกรณีที่เป็น NPL 30-50% ฉะนั้น ออมสิน จึงไม่มีความเสี่ยงเรื่องหนี้เสียต่อแบงก์