͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: หุ้นยานยนต์ไฟฟ้าพร้อมสตาร์ท ขับเคลื่อนรายได้-การเติบโต  (อ่าน 83 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ luktan1479

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 16766
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
สิ้นคำประกาศบนนเวทีโลก COP26 ที่สก็อตแลนด์เพื่อหน้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้พลังงานจากถ่านหินและฟอสซิลสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้เร็วขึ้น เกิดแรงสะเทือนใหญ่ที่แข็งแกร่งให้กับหุ้นที่เกี่ยวข้องยานยนต์ไฟฟ้าพร้อมสตาร์ทวิ่งทันที

ด้วยไทยได้ประกาศแผนผลักดันการใช้รถยนต์ไฟฟ้า 15 ล้านคัน (ประมาณ 1 ใน 3 ของยานยนต์ทั่วประเทศ) ภายในปี 2578 และปลายปี 2564 จะออกมาตรการสนับหนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ท่ามกลางคาดการณ์เป็นไปได้ทั้งการลดหรือยกเว้นภาษีให้กับการนำเข้ายานยนต์ไฟฟ้ามาจำหน่ายในประเทศในช่วงแรก

เมื่อมาไล่ดูบริษัทยักษ์ใหญ่ในไทยขยับตัวเข้าไปสู่ EV กันอย่างคึกคัก บมจ.ปตท. (PTT) ลงนามในสัญญาร่วมทุนกับ Foxconn ด้วยการจัดตั้ง บริษัทร่วมทุน 3,220 ล้านบาทเพื่อดำเนินธุรกิจผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในไทยทั้งแบตเตอรี่ และ Platform Drivetrain หรือ Motor ในช่วง 5-6 ปี มีเป้าหมายการผลิตในระยะแรก 50,000 คัน/ปี และขยายเป็น 150,000 คัน/ปี ในอนาคต

ขณะที่ในกลุ่มบริษัทลูก PTT บมจ.โกล. เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) หันมาตั้ง โรงงานผลิตหน่วยกักเก็บพลังงาน (Energy Storage Unit) ด้วยเทคโนโลยี Semi-solid ตั้งแต่ก.พ.2563 โครงการดังกล่าวมีประมาณ 1,100 ล้านบาท ที่ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยอง จะมีกำลังการผลิตในระยะแรกอยู่ที่ 30 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง 

คาดว่า โรงงานจะแล้วเสร็จพร้อมดำเนินการผลิต(Start of Regular Production) ภายใน ไตรมาส 2 ปี 2564 ช่วงแรกโรงงานจะผลิตแบตเตอรี่ ทั้งในส่วน Mobility และ Stationary ป้อนให้กับ โรงงานอุตสาหกรรม สถานีอัดประจุธุรกิจขนส่ง เช่น รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า รถบัสไฟฟ้า และการประยุกต์ใช้งาน



ขณะที่ผู้บุกเบิก EV ในไทย บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) เตรียมเปิดตัวโรงงานแบตเตอรี่เฟสแรก 1 กิกะวัตต์ และยังมีบริษัทย่อย บมจ.เน็กซ์ พอยท์ (NEX) เป็นผู้ผลิตและรับจ้างผลิต รถบัส EV มีลูกค้าสำคัฐ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เบื้องต้น 300 คัน

หรือแม้แต่ บมจ. บ้านปู (BANPU) ถือว่าเป็นธุรกิจพลังงานฟอสซิล ได้เปลี่ยนมาลงทุนในกรีน เอเนอร์ยี่ ผ่าน “บ้านปู เน็กซ์ ” เข้าลงทุนธุรกิจแบตเตอรี่กำลังการผลิตอยู่ที่ 1 กิกะวัตต์/ชั่วโมง และตั้งเป้าหมายการเติบโตของกำลังการผลิตไว้ที่ 3 กิกะวัตต์/ชั่วโมง ในปี 2568

ด้านธุรกิจกลางน้ำกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ยกให้หุ้นใหญ่ 3 บริษัท บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA ,บมจ.เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ (KCE) , บมจ. ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส (HANA)

และ บมจ. เอสวีไอ (SVI) ได้รับประโยชน์เต็มซึ่งแต่ละบริษัทเข้าผลิตอุปกรณ์ป้อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าระดับโลก รวมไปถึงบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในกลุ่ม Tier 2 ต่างหันมารับออร์เดอร์ยานยนต์ไฟฟ้าเช่นเดียวกัน


สุดท้า ยกลุ่มธุรกิจปลายน้ำถือว่าเป็นกลุ่มที่เข้าทำดำเนินธุรกิจได้ง่าย ผ่านการให้บริการสถานีชาร์ทไฟฟ้า หรือการให้บริการเดินรถไฟฟ้า อุปกรณ์สายไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งกลายเป็นเทรนใหม่ของธุรกิจเข้าขยายและเพิ่มรายได้ในส่วนนี้

อาทิ บมจ. แสนสิริ (SIRI) ร่วมมือกับชาร์จ แมเนจเม้นท์ (SHARGE) ติดตั้ง EV Charging Station ในโครงการที่อยู่อาศัยของแสนสิริ ใน 28 โครงการ หรือ บมจ.เอทีพี30 (ATP30) ให้บริการบริหารจัดการการเดินรถโดยสารไฟฟ้ามินิบัส (E-Bus) กับบริษัมย่อยPTT และธุรกิจรถไฟฟ้าให้เช่ากับ บริษัท อีวี มี พลัส จำกัด

เรียกได้ว่า กระแสยานยนต์อีวีเป็นจุดสตาร์ทให้กับบริษัทจดทะเบียนหันมาเน้นการใช้เทคโนโลยีและ พลังงานสะอาด ที่จะมาพร้อมกับการเติบโตในอนาคตและกลายเป็นจุดที่สร้างความแตกต่างให้กับหุ้นในสายตานักลงทุนเน้นมองอนาคตเป็นหลัก