͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: Quantamental อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลขึ้นกดดันตลาดหุ้น  (อ่าน 64 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jessicas

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 18534
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
SET index พักฐานในเดือน ก.ย. (ตามคาด)  ในบทวิเคราะห์เดือนก่อน เราประเมินว่าดัชนี SET index จะพักฐานในเดือน ก.ย. หลังจากที่ Rebound แรงในเดือน ส.ค. (Short-term momentum แรงเกินไป)

ทั้งนี้ SET index ปรับลดลง -2% MoM ทดสอบแนวรับ 1,600 จุดที่เราประเมิน

Value factor: ความน่าสนใจลงทุนในตลาดหุ้นลดลงบ้าง เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับขึ้นเดือนที่ผ่านมา Consensus ปรับประมาณการ EPS ปี 2564F ของ SET index ขึ้นเฉลี่ย +0.2% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond yield) ปรับขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดย Bond yield อายุ 5 – 10 ปี ปรับขึ้นสู่ระดับ 1.03% และ1.89% จาก 0.74% และ 1.59% ตามลำดับ ในเดือนก่อน สงผลให้ความน่าสนใจลงทุนในตลาดหุ้นไทยลดลงจากเดือนก่อนหน้า ในเชิงเปรียบเทียบ แม้ราคาหุ้นจะปรับลดลงก็ตาม

i) Implied equity risk premium (iERP): iERP ล่าสุดเท่ากับ 3.22% ทรงตัวเทียบเดือน ก.ย. ขณะที่ประมาณการเงินปันผล (DPS) ปี 2564 – 66 ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ iERP ปัจจุบันยังอยู่ระดับที่สูงกว่ากรอบล่างเล็กน้อย โดยกรอบล่างของ iERP อยู่ที่ 3.0% ซึ่งเป็นค่า -1.5 เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของค่าเฉลี่ยในอดีต

ii) Modified yield gap (M-yield gap): M-yield gap ล่าสุดพลิกกลับเป็นลบ -0.24 จุด จากที่บวก +2.19 จุด และ+1.62 จุด ในสิ้นเดือนเดือน ก.ค. และ ส.ค. ตามลำดับ การพลิกเป็นค่าลบของ M-yield gap สะท้อนว่าการปรับขึ้นแรงของ Bond yield ส่งผลให้ความน่าสนใจในการลงทุนในตลาดหุ้นลดลง อย่างไรก็ดี ค่า M-yield ปัจจุบันที่เป็นลบเพียงเล็กน้อย ยังใกล้เคียงค่าศูนย์ (สภาวะการลงทุนที่เป็น Neutral ระหว่างตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร) ยังแปลความได้ว่า การลงทุนในตลาดหุ้นยังอยู่ในระดับที่ยอมรับได้

 



iii) Cyclical adjusted PE (CAPE): CAPE เท่ากับ 20.2 เท่า ซึ่งเป็นระดับ +1.0 เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในอดีต ลดลงจาก 20.6 เท่า ในเดือนก่อนเล็กน้อย ขณะที่ CAPE ลดลงเล็กน้อยแต่ Excess CAPE Yield (ECY) กลับลดลงเป็น 2.95% จาก 3.12% ในเดือนก่อน เป็นผลจาก Bond yield ที่ปรับขึ้นสวนทางนั่นเอง ทั้งนี้ CAPE เคยทำระดับสูงสุดที่ 25.8 เท่า และค่า +1.5 เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 23.4 เท่า

 

Momentum factor: Medium-term momentum ในตลาดหุ้นยังบวก

Momentum ในตลาดหุ้นไทยยังเป็นบวกได้ โดยอัตราผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือน เท่ากับ +0.4% ต่อเดือน ขณะที่อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดพันธบัตรย้อนหลัง 2 เดือนกลับพลิกเป็นลบ -0.193% ต่อเดือน เนื่องจาก Bond yield ที่ปรับขึ้นแรงในเดือน ก.ย. ทำให้ Cross-asset class momentum (CAC) ล่าสุดอ่อนแรงลง เพราะ Momentum จากตลาดพันธบัตรที่แย่ลง

 

Liquidity in financial market system: ตลาดหุ้นยังไม่ถูก Weight มากจนเกินไป

Aggregate Investor Allocation to Equities (AIAE) index ที่เราพัฒนาขึ้นและเริ่มต้นแนะนำในเดือนก่อนหน้าลดลงเป็น 32.1 จุด ลดลงจาก 32.6 จุด ในเดือนก่อน สะท้อนว่านักลงทุนในภาพรวมทำการจัดสรรเงินลงทุนไปที่ตลาดหุ้น 32.1% ของปริมาณเงินทั้งะบบ ซึ่งยังต่ำกว่าระดับ +34 จุด ที่จะเริ่มเกิดความเสี่ยงว่านักลงทุนจะทำการลดพอร์ตการลงทุนในตลาดหุ้น เพราะการจัดสรรเงินลงทุนที่มากจนเกินไป ดังนั้นเราประเมินว่า เมื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำและสภาพคล่องที่ยังล้นระบบการเงิน ตลาดหุ้นไทยยังไม่ถูกจัดสรรเงินลงทุนมากจนเกินไป

 

 

 

 

 


Maintain investment weight

เรายังคงแนะนำให้ คงน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยตามเดิม (หลังจากที่แนะนำให้ซื้อในเดือน ส.ค.) เนื่องจากประเมินว่าหลังการพักฐานระยะสั้นในเดือน ก.ย. แล้วตลาดหุ้นไทยยังมีโอกาสปรับขึ้นได้ แม้ความน่าสนใจลงทุนจะลดลง (ผลจาก Bond yield ที่ขึ้น) แต่ Momentum ระยะกลางในตลาดหุ้นยังเป็นบวกต่อเนื่องอยู่ในด้านการประเมินทางเทคนิค กรอบแนวรับดัชนี SET index เดือนนี้เท่ากับ 1,585 จุด และ 1,570 จุด ขณะที่กรอบแนวต้านประเมินไว้ที่ 1,640 จุด และ 1,660 จุดหุ้นเด่นที่เราคัดกรองด้วยการโมเดลเชิงปริมาณในเดือน ก.ย. ขาดทุนรวม -2.8% และ -1.3% อิงการคำนวณด้วยวิธีEqual weight และ Market cap weight ตามลำดับ สำหรับหุ้นเด่นในเดือน ต.ค. แสดงในตารางที่ 1