͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: จุฬาฯ ตอบโจทย์โควิดครบวงจร ผุดสุดยอดนวัตกรรมเพื่อสังคม  (อ่าน 95 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Thetaiso

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 9362
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


จุฬาฯ เผยเบื้องหลังการขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ตอบโจทย์อย่างแท้จริง เดินหน้าต่อเนื่อง 3 แนวทาง ผุดนวัตกรรมรับมือโควิด-19 อย่างรอบด้าน พร้อมติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุด และช่องทางใช้ประโยชน์

“โควิด-19” ถือเป็นวิกฤตการณ์ระดับโลกที่ยืดเยื้อยาวนาน เป็นภัยคุกคามที่ทุกประเทศต้องเร่งรับมือและจัดการให้ได้ แต่ก็กลายเป็น “โอกาส” หรือเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทาย ยิ่งกว่านั้น การแพร่ระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ได้ส่งผลให้ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตและติดเชื้อเป็นจำนวนมาก นอกจากการเร่งเครื่องพัฒนานวัตกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือกับมหันตภัยที่คุกคามชีวิตของผู้คนให้ตอบโจทย์ได้ทันต่อสถานการณ์ จนส่งผลให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ตามมามากมายแล้ว ที่สำคัญอย่างยิ่งคือ “วัคซีนโควิด-19” ยังคงเป็นความหวังที่ทุกคนรอคอย โดยเฉพาะวัคซีนฝีมือคนไทยซึ่งพัฒนาโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งวัคซีน ChulaCov19 ซึ่งเป็นวัคซีนชนิด mRNA และวัคซีนจุฬาฯ – ใบยา วัคซีนชนิด Protein Subunit ถึงวันนี้มีความก้าวหน้าในการดำเนินงานเป็นอย่างมาก

หลากหลายนวัตกรรมจากจุฬาฯ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร?? เบื้องหลังการขับเคลื่อนให้ทุกภาคส่วน ทั้งคณาจารย์ นักวิจัยและนิสิตจุฬาฯ สามารถคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเพื่อรับมือการแก้ปัญหาโควิด-19 อย่างต่อเนื่องคืออะไร??

รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี จุฬาฯ
รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี จุฬาฯ

๐ จากวิสัยทัศน์ สู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง

รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมรับมือโควิด-19 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกิดจากวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยในการเป็นผู้นำสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งนำมาสู่พันธกิจของจุฬาฯ ที่มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม (Innovations for Society)

รศ.ดร.ณัฐชา ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า ไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์หรือความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น แต่สิ่งนั้นจะต้องนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยตัวชี้วัดที่จุฬาฯ ใช้ในงานนวัตกรรมคือ มูลค่าทางการตลาดที่เกิดขึ้นจากนวัตกรรมที่จุฬาฯ บ่มเพาะจะต้องมีมูลค่า 1 หมื่นล้านบาท และมีผู้ใช้ประโยชน์จากงานนวัตกรรมอย่างน้อย 1 ล้านคน ความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมของจุฬาฯ เกิดจาก 3 ปัจจัย คือ 1.การมีคนเก่ง มีทักษะ ทัศนคติและวิสัยทัศน์ในการสร้างสรรค์สังคมที่ดีขึ้น แสวงหาโอกาสอย่างมีกลยุทธ์ 2.ความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และการตลาด 3.มีแผนธุรกิจที่แตกต่าง และลอกเลียนแบบยาก รวมถึงสามารถขยายการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

โดยการขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์นั้น มาจากการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมในจุฬาฯ ซึ่งประกอบด้วย CU Innovation Hub ทำหน้าที่บ่มเพาะทักษะการเป็นผู้ประกอบการ นำงานวิจัย ”จากหิ้งสู่ห้าง” และสร้างสังคมอุดมปัญญา และมี CU Enterprise เป็นบริษัทร่วมลงทุนที่จุฬาฯ ถือหุ้น 100% ทำหน้าที่ลงทุนธุรกิจนวัตกรรมที่มาจากการบ่มเพาะของ CU Innovation Hub ซึ่งปัจจุบันมีการตั้งบริษัทสตาร์ทอัปขึ้นใน 6 คณะ ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และบริษัท นวัตกรรมจามจุรี ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้อาจารย์สร้างสรรค์งานนวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมในเวลาที่รวดเร็ว

รศ.ดร.ณัฐชาชี้ให้เห็นถึงหัวใจสำคัญที่ทำให้ระบบนิเวศนวัตกรรมของจุฬาฯ ประสบความสำเร็จว่ามาจาก “PADONE” ประกอบด้วย Prior Experiences (ประสบการณ์ก่อนหน้านี้ในการทำธุรกิจและนวัตกรรม) Accelerate Success (การมีเครือข่ายที่ช่วยทำให้เกิดความสำเร็จรวดเร็วยิ่งขึ้น) Diversify Risk (การกระจายความเสี่ยง) Omni Resources (ทรัพยากรไม่จำกัด) NurtureTrust (ความเชื่อถือไว้ใจ) และ Equity Partnership (การแบ่งปันที่เป็นธรรม)

หุ่นยนต์ CURoboCovid กู้วิกฤตโควิด-19
หุ่นยนต์ CURoboCovid กู้วิกฤตโควิด-19

จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้สังคมไทยเห็นนวัตกรรมจุฬาฯ จำนวนมากที่มีการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อช่วยเหลือประเทศชาติและประชาชน นวัตกรรมต่างๆ ของจุฬาฯ เกี่ยวกับโควิด-19 แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ “นวัตกรรมการป้องกัน” เช่น วัคซีน ChulaCov19 วัคซีนจุฬาฯ - ใบยา ฯลฯ “นวัตกรรมการคัดกรอง” เช่น Chula COVID-19 Strip Test รถพระราชทานเคลื่อนที่ตรวจวิเคราะห์ผลโควิด-19 แบบรวดเร็ว แม่นยำ ฯลฯ และ “นวัตกรรมการรักษา” เช่น หุ่นยนต์ปิ่นโต นินจา กระจก ช่วยแพทย์ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ฯลฯ

“แพลตฟอร์มในการทำธุรกิจวิจัยนวัตกรรมช่วยสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาวและทันเวลา การพัฒนานวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเอง ไม่ต้องพึ่งเทคโนโลยีต่างประเทศ เป็นความมั่นคงของประเทศไทยซึ่งสามารถแปลงกลับมาเป็นรายได้เข้าสู่ประเทศ จุฬาฯ มุ่งตอบสนองความต้องการของประเทศ เมื่อใดที่สังคมมีปัญหา จุฬาฯ มีคำตอบ ซึ่งคำตอบนั้นถูกสร้างขึ้นด้วยนวัตกรรมเพื่อสังคม” รองอธิการบดีด้านนวัตกรรม จุฬาฯ กล่าวในที่สุด



๐ หลากหลายนวัตกรรมจุฬาฯ สู้โควิด-19

จุฬาฯ มุ่งมั่นเร่งวิจัยและพัฒนาหลากหลายนวัตกรรมเพื่อบรรเทาปัญหาจากโควิด-19 ทั้งเชิงวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่เพียงแต่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพของประชาชนเท่านั้น แต่ยังช่วยดูแลจิตใจ พร้อมๆไปกับการเพิ่มพูนทักษะความรู้ที่ส่งเสริมการประกอบอาชีพให้อยู่รอดจากวิกฤตโควิด-19 ส่วนหนึ่งของนวัตกรรมจากจุฬาฯ สู้โควิด-19 มีดังนี้

๐ นวัตกรรมในการป้องกัน

๐๐ “วัคซีน ChulaCov19”
วัคซีน mRNA รุ่นแรกของประเทศไทย โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เริ่มฉีดทดลองในอาสาสมัครแล้ว กำลังพัฒนาวัคซีนรุ่น 2 เพื่อรองรับไวรัสกลายพันธุ์ อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/news/47758/

๐๐ “วัคซีนจุฬาฯ – ใบยา”
วัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบพืช โดยบริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด สตาร์ทอัปในคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ มีการสร้างโรงงานต้นแบบผลิตวัคซีนจากพืชสำหรับใช้ในมนุษย์แห่งแรกในเอเชีย วางแผนทดสอบในอาสาสมัครภายในเดือนกันยายน 2564 อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/news/34189/

๐๐ “เครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ”
นวัตกรรมจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สามารถดูดและบรรจุวัคซีนแอสตราเซเนกาลงเข็มฉีดยาได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว ปลอดภัย ช่วยเพิ่มจำนวนผู้ได้รับวัคซีนอีก 20% อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/highlight/49475/

๐๐ “Shield+: Protecting Spray”
สเปรย์พ่นหน้ากากผ้าป้องกันฝุ่น PM2.5 และไวรัสโควิด-19 สามารถนำมาใช้ซ้ำ ช่วยลดขยะจากการใช้หน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้ง อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/news/29889/

๐๐“หน้ากากอนามัย 2 in 1”
ป้องกันฝุ่นและไวรัส มีประสิทธิภาพสูง เพื่อสุขภาพชีวิตวิถีใหม่ ผลงานของหลักสูตรวิศวกรรมและเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และบมจ.ปตท. อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/highlight/47688/

๐๐ “Cure Air Sure”
หน้ากากกรองฝุ่นพิษและเชื้อโรค 99.9% นวัตกรรมจุฬาฯ เพื่อลมหายใจสะอาด ใส่สบาย หายใจสะดวก อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/highlight/48107/

๐๐ “เครื่องพ่นละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์”
นวัตกรรมการพ่นฆ่าเชื้อในห้องและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อความปลอดภัยจาก COVID-19 ผลงานคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/news/29789/



๐ นวัตกรรมในการคัดกรอง

๐๐ “สุนัขดมกลิ่นหาผู้ติดเชื้อโควิด-19”
ความสำเร็จครั้งแรกในประเทศไทยโดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในการใช้สุนัขดมกลิ่นเหงื่อผู้ติดเชื้อโควิด-19 ช่วยคัดกรองผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ นอกจากนี้ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ยังได้ต่อยอดงานวิจัยสู่การผลิตเครื่องมือตรวจเชื้อโควิดจากกลิ่นเหงื่อ สามารถทราบผลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำกว่า 95% อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/news/44526/ และhttps://www.chula.ac.th/highlight/49578/

๐๐ “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ”
รถพระราชทานเคลื่อนที่ตรวจวิเคราะห์ผล COVID-19 แบบรวดเร็ว แม่นยำ ปลอดภัย ช่วยขยายการตรวจคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 แบบเชิงรุกในพื้นที่ชุมชน อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/news/41055/

๐๐ “COVID-19 SCAN”
นวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโควิดเชิงรุกผลงานของแพทย์จุฬาฯ รวดเร็ว แม่นยำ มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับเทคนิค Real-time PCR สำหรับโรงพยาบาลและหน่วยงานทางการแพทย์ในการตรวจคัดกรองเชิงรุกในชุมชน อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/news/48500/



๐ นวัตกรรมในการรักษา

๐๐ หุ่นยนต์ CURoboCovid กู้วิกฤตโควิด-19
หุ่นยนต์น้อง “ปิ่นโต” “กระจก” “นินจา” ผลงานคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ช่วยแพทย์และพยาบาลสื่อสารทางไกลกับคนไข้โดยไร้การสัมผัส อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/news/37194/

นอกจากนี้ จุฬาฯ ยังได้สร้างสรรค์ “นวัตกรรมทางสังคมเพิ่มทางรอดโควิด-19” ไม่ว่าจะเป็น “คอร์สเรียนออนไลน์” เพิ่มทักษะได้ง่ายๆ ที่บ้าน จาก Chula MOOC แม้ต้องถูก Lockdown แต่การเติมเต็มความรู้ไม่หยุดนิ่งไปด้วย มาเรียนวิชาความรู้ได้ 24 ชม. กับ Chula MOOC ค้นหาคอร์สที่น่าสนใจได้ที่ https://mooc.chula.ac.th/

“โครงการจุฬาอารี” (Chula Ari) โครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย ผุดนวัตกรรมและความช่วยเหลือหลากหลาย ช่วยดูแลคนสูงวัยในยุคโควิด-19 สามารถติดตามเรื่องราวของโครงการจุฬาอารีได้ที่ http://www.chulaari.chula.ac.th/

“Mind Space & Mind Café” แพลตฟอร์มใหม่เพื่อนใจนิสิต โดย Chula Student Wellness ช่วยดูแลสุขภาพจิตนิสิตจุฬาฯ ในช่วงที่ต้องรักษาระยะห่าง หวังให้นิสิตรับมือความเครียดในชีวิตทั้งการเรียนและความสัมพันธ์ อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/highlight/45411/



รวมทั้ง ”Quick MBA from Home” โดยชวนทุกคนมาเรียนบริหารธุรกิจแบบใช้ได้จริง เรียนรู้เคล็ดลับธุรกิจจากกูรูผู้เชี่ยวชาญจุฬาฯ ได้ง่ายๆ จากบ้าน โดยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ติดตามรายละเอียดได้ที่ https://www.cbs.chula.ac.th/quick-mba-from-home/

เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 นวัตกรรมมากมายดังกล่าวที่จุฬาฯ สรรค์สร้างและพัฒนาขึ้นมานั้น ได้สร้างประโยชน์ให้ก่อเกิดในสังคมทั้งในระดับบุคคลและระดับประเทศในวงกว้างอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม