͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: กูรูหวั่นไตรมาส3คุมโควิดไม่อยู่ ค่าบาทอ่อนหลุดแตะ 34บาท   (อ่าน 137 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Prichas

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12494
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


เงินบาท” ปิดตลาดเมื่อวันที่ 6 ส.ค. อ่อนค่าที่่ระดับ 33.38 บาทต่อดอลลาร์ และนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันเงินบาทอ่อนค่าสุดในภูมิภาคเอเชียที่ 10.3% โดยระหว่างวันเงินบาทอ่อนค่าสุดที่ 33.39 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นการอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ3ปี             

‘บาทอ่อน’จากปัจจัยในปท.-ศก.ถดถอย       

นายยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Economic Intelligence Center (EIC)ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB เปิดเผยว่า  สถานการณ์เงินบาทที่อ่อนค่าเร็วและมีความผันผวนในระยะสั้น มาจากปัจจัยในประเทศเป็นหลัก คือ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยมีโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอยในไตรมาส 2 และไตรมาส 3 ของปีนี้ เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการแพร่ระบาดโควิด ระลอก 3 ยังรุนแรงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือนเม.ย.ที่ผ่านมานี้  รวมถึงการกลับมาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในรอบ 8 ปี และยังมีแนวโน้มเงินดอลลาร์แข็งค่า ซึ่งเป็นปัจจัยนอกประเทศเข้ามากดดัน  

ทั้งนี้ยังต้องติดตามการคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19รอบนี้จะยืดเยื้อหรือไม่ ปัจจุบันยังคงคาดการณ์เงินบาทในปีนี้ที่ 32.50-33.00 บาทต่อดอลลาร์ ภายใต้กรณีฐาน คาดว่าจีดีพีปีนี้ที่ 0.9% สามารถคุมการแพร่ระบาดได้ในช่วงต้นถึงกลางไตรมาส 4 ปีนี้ มีการกระจาย วัคซีนได้มากขึ้น เศรษฐกิจค่อยๆปรับตัวดีขึ้นได้ในช่วงปลายปีนี้  ทำให้เงินบาทน่าจะกลับมาแข็งค่าขึ้นได้บางในช่วงปลายปี แต่ทั้งปีนี้ยังอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

แต่กรณีเลวร้าย โควิด-19ยังแพร่ระบาดต่อเนื่องไปถึงไตรมาส 4  ยังล็อกดาวน์ต่อเนื่อง ผลกระทบลามสู่อุตสาหกรรมกระทบส่งออกทำให้ ธปท. มีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ได้  ทำให้จีดีพีปีนี้ ติดลบ 0.4% ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่องในครึ่งปีหลังและสิ้นปีนี้อ่อนค่าทะลุ 33 บาทต่อดอลลาร์

นายยรรยง กล่าวว่า สถานการณ์เงินบาทอ่อนค่าในปีนี้ จะยังไม่กระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจไทย เพราะเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)  สามารถดูแลได้ จากปัจจุบันที่มีทุนสำรองฯ อยู่ในระดับสูง ทำให้สามารถเข้ามาดูแลให้เงินบาทอ่อนค่าแบบค่อยเป็นค่อยไป และไม่ผันผวนมากนัก ซึ่งส่งผลดีต่อการส่งออกอีกด้วย ช่วงให้มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นในช่วงโควิด-19ที่มีภาระต้นทุนอื่นๆ เพิ่มขึ้น


‘เดลตา’ระบาดแรงฉุดศก.ติดลบ   

นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย เปิดเผยว่า ธนาคารปรับมุมมองทิศทางเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าขึ้นในระยะสั้น ไตรมาส 3 ปี 2564 ที่ 33.50 บาทต่อดอลลาร์ จากเดิมที่ 32.50บาทต่อดอลลาร์ และมีโอกาสหลุด 33.50 บาทต่อดอลลาร์ได้  

ทั้งนี้จากปัจจัยการแพร่ระบาดโควิด-19สายพันธุ์เดลตาที่รุนแรงขึ้น จนมีผู้ติดเชื้อใหม่รายวันเร่งตัวขึ้น ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทย มีควาามเสี่ยงมากขึ้นที่จะติดลบต่อเนื่อง 2 ปีซ้อน หากการแพร่ระบาดลามสู่ภาคอุตสาหกรรมและอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยซึ่งนักลงทุนกังวลจุดนี้ รวมถึงธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)มีโอกาสลดคิวอีในปีนี้

แต่หากคุมการแพร่ระบาดโควิดรอบนี้ได้ภายในเดือน ส.ค.หรือเดือนก.ย.นี้ น่าจะเริ่มเห็นสัญญาณยอดผู้ติดเชื้อใหม่รายวันลดลงได้ เหลือระดับ 1 หมื่นคน นักลงทุนต่างชาติน่าจะเริ่มกลับมาได้ คาดว่า หลังจากนั้น สถานการณ์น่าจะคลี่คลาย ทำให้เงินบาทไม่อ่อนค่าไปมากหรืออาจกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ 

อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์เลวร้ายไปมากกว่าที่คาดจากปัจจัยในประเทศเป็นหลัก ทั้งผลกระทบโควิด-19สายพันธุ์เดลตายังลามในไตรมาส 4 ปีนี้ ล็อกดาวน์ต่อเนื่องทั้งปี และลามสู่ภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นจนกระทบส่งออก แม้เงินบาทอ่อนค่าก็ไม่ได้ช่วยส่งออกได้ เพราะส่งออกไทยสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันแล้ว ส่งผลให้จีดีพีปีนี้ติดลบ 

รวมถึงยังไม่สามารถจัดหาและกระจายวัคซีนได้ตามเป้าหมายในปีนี้  แน่นอนว่าหากสถานการณ์ยังเลวร้ายในเดือนส.ค.นี้ ธปท.มีโอกาสจะลดดอกเบี้ยนโยบายได้ในการประชุมครั้งหน้าเดือนก.ย. ทำให้ความน่าสนใจสินทรัพย์ในรูปเงินบาทลดลงอีก 

ทั้งหมดเป็นความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่กดดัน เงินบาทยังอ่อนค่าต่อเนื่องไปแตะ 34 บาทต่อดอลลาร์ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ทั้งนี้ต้องรอจับตาสถานการณ์คุมการแพร่ระบาดกลางเดือนส.ค.นี้จะทำได้มากน้อยแค่ไหน

แนะขยาย ‘ล็อกดาวน์’ ถึงสิ้นปี

นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี ธนาคารทหารไทยธนชาต เปิดเผยว่ ช่วงครึ่งปีหลังนี้เงิินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าขาเดียว คือไม่กลับมาแข็งค่าอีกรอบ โดยสิ้นปีนี้มองกรอบค่าเงินบาทที่ระดับ  33.50 -34.00 บาทต่อดอลาร์

จากปัจจัยยอดผู้ติดเชื่อใหม่ในประเทศยังพุ่งสูงเมื่อเทียบกับภูมิภาค  และดุลบัญชีเดินสะพัดยังขาดดุลต่อเนื่องในระดับสูง รวมถึงเงินดอลลาร์อาจแข็งค่าขึ้น 

หากเฟดมีความมั่นใจต่อแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจสหรัฐและส่งสัญญาณพร้อมลดคิวอี  ที่สำคัญในช่วงปลายปีนี้ มองว่า หากเศรษฐกิจสหรัฐยังฟื้นชัดเจนการแพร่ระบาดสายพันธุ์เดลตาไม่มีผลกระทบมากเมื่อเทียบกับฝั่งประเทศเกิดใหม่ แน่นอนว่า มีโอกาสที่เงินบาทยังอ่อนค่าต่อเนื่องไปถึงปีหน้ามองไว้ที่ระดับ 34.50 บาทต่อดอลลาร์

“เราต้องรอประเมินสถานการณ์คุมโควิด-19กลางเดือนส.ค.นี้ก่อนว่า จะคุมได้มากน้อยแค่ไหน แต่ตอนนี้มองว่า ยอดผู้ติดเชื้อใหม่รายวันที่เพิ่มขึ้นและน่าจะไปถึงจุดสูงในเดือนก.ย.หรือเดือน ต.ค.จะนั้นสถานการณ์น่าจะค่อยๆ ดีขึ้น มาตรการล็อกดาวน์น่าจะขยายต่อถึงสิ้นปีนี้และโอกาสที่จะเปิดประเทศปลายปีนี้เป็นไปไม่ได้ ทำให้มีโอกาสปรับลดจีดีพีปีนี้จากเดิมคาดไว้ที่  0.9%” 

“กรุงศรีโกล.มาร์เก็ตส์” ประเมินกรอบค่าเงินบาทไตรมาส 3 ปีนี้ ยังอ่อนค่าที่ 33.25 บาทต่อดอลลาร์ จากจำนวนยอดผู้ติดเชื้อใหม่รายวันน่าจะสูงสุดในไตรมาส 4  กระจายวัคซีนลาช้า ยังมีมาตรการล็อกดาวน์  และเฟดเล็งถอนคิวอีในปีนี้  แต่คาดว่าสิ้นปีนี้น่าจะกลับมาแข็งค่าที่ 32.75บาทต่อดอลลาร์ จากเงินบาทน่าจะสะท้อนปัจจัยเชิงลบไปพอสมควร แต่หากสถานการณ์โควิดในประเทศยังไม่ดีขึ้นในไตรมาส 4 ปีนี้ แน่นอนว่า ทิศทางเงินบาทยังอ่อนค่ากว่าที่คาดและต่อเนื่องไปถึงสิ้นปีนี้ 

ดอลล์แข็งค่ารับจ้างงานสหรัฐแกร่ง

ขณะที่ ดอลลาร์สหรัฐ ยังคงแข็งค่า เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์ก เมื่อวันศุกร์ (6 ส.ค.) เนื่องจาก นักลงทุนขานรับสหรัฐ เปิดเผยข้อมูลการจ้างงานเดือน ก.ค.ที่แข็งแกร่งเกินคาด

ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.58% แตะที่ 92.7918

ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 110.20 เยน จากระดับ 109.75 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9150 ฟรังก์ จากระดับ 0.9061 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2559 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2494 ดอลลาร์แคนาดา

ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1758 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1835 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3877 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3932 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7352 ดอลลาร์ จากระดับ 0.7404 ดอลลาร์

บรรดานักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาด

 โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 943,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 845,000 ตำแหน่ง จากระดับ 938,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย.