͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: กทม.เล็งซื้อวัคซีน 'โมเดอร์นา' ฉีดให้ ปชช. พบยอดรักษาผู้ป่วยพุ่ง 2.6 หมื่นคน  (อ่าน 173 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Thetaiso

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 9362
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด



วันที่ 29 ก.ค. ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกทม. กล่าวในตอนหนึ่งของการแถลงข่าวสรุปการบริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพฯ ผ่านระบบ Cisco Webex Meetings ถึงกรณี กทม.และกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) มีปัญหากันหรือไม่นั้น โดยยืนยันว่า กทม.และ กระทรวงสธ.ทำงานร่วมกันมาตลอด ส่วนที่มีกระแสข่าวทะเลาะกับ สธ.นั้น ทาง กทม.ได้ชี้แจงไปแล้วว่า กทม.ได้รับวัคซีนจำนวนเท่าไร โดย กทม.ได้รับการจัดสรรวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าในระบบหมอพร้อม 1,220,000 โดสเป็นกระบวนการที่ทำร่วมกับ สธ.ดังนั้น จะมียอดลงทะเบียนของทั้งสองหน่วยงานในจำนวนนี้กว่า 30,000โดส ใช้ในการฉีดผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน และได้รับวัคซีนจากโครงการไทยร่วมใจเพียง 680,000 โดส และใน 1-2 วันนี้จะมีการตัดวัคซีนไปฉีดผู้ป่วยในชุมชนอีกประมาณ 30,000 โดส ตรงนี้เป็นตัวเลขทั้งหมดที่ได้รับ

"ส่วนจำนวน 700,000 โดส คืออะไร ก็ต้องบอกว่าถ้าเอาตัวเลขเป๊ะๆ ที่ได้รับจากโครงการไทยร่วมใจอยู่ที่ 680,000 โดส ซึ่งทุกครั้งที่จะนำวัคซีนจากโครงการไทยร่วมใจไปใช้จะต้องมีการขอมติจาก ศบค.ด้วยว่าจะให้ฉีดเท่าไรอย่างไร"ร.ต.อ.พงศกร ระบุ

ผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่ กทม.จะจัดซื้อวัคซีนเอง ร.ต.อ.พงศกร กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกวัคซีนที่รัฐจัดหา และกลุ่มสองวัคซีนทางเลือก ซึ่งกทม.มีความพร้อมและได้จัดซื้อวัคซีนทางเลือกแล้วบางส่วน อาทิ ซิโนฟาร์ม ใช้ในการฉีดในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง และอยู่ระหว่างการพูดคุยในเรื่องการจัดซื้อโมเดอร์นาในลำดับถัดไป ส่วนการกระจายวัคซีนคงไม่มีการปรับแผน โดย กทม.ทำตามนโยบายมาตลอด เพื่อเร่งฉีดกลุ่มผู้สูงอายุและ 7 กลุ่มโรคและผู้ที่มีความเสี่ยง โดยมีเป้าหมายฉีดให้ครอบคลุมร้อยละ 70 ซึ่งศักยภาพของศูนย์ฉีดได้ 7-8 หมื่นต่อวัน หากได้วัคซีนเพิ่มเราก็มีศักยภาพที่จะฉีดเพิ่มได้

โฆษก กทม. กล่าวด้วยว่า ส่วนกลุ่มที่ไปรอฉีดสถานีกลางบางซื่อจำนวนมากจนเกิดภาพความแออัด กทม.เป็นแค่หนึ่งคณะกรรมการกระจายวัคซีน ไม่ได้มีอำนาจในการตัดสินใจว่าใครจะได้รับวัคซีนเท่าไร แต่ กทม.พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในการฉีดวัคซีนในสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งมีภาพความแออัด และอาจจะมีความเสี่ยงต่อการระบาด แต่อยู่กับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สุดในการควบคุมการระบาด เพราะรู้ว่าการกระจายวัคซีนและการบริหารจัดการควรเป็นอย่างไร เพื่อไม่ให้มีการแพร่ระบาด กทม.คงไปสั่งแทนไม่ได้เพราะไม่มีอำนาจ แต่ กทม.พร้อมเข้าไปช่วย


ด้านพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยว่า ปัจจุบัน กทม.ยังคงให้บริการวัคซีนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ให้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง ภาพรวมการให้บริการวัคซีนโควิด-19 ซึ่งเป็นการฉีดโดยหลายหน่วยงานอาทิ จุดฉีดสถานีกลางบางซื่อโดยกระทรวงสาธารณสุข จุดฉีดศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดงโดยกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งได้ร่วมกันจัดหน่วยฉีดให้บริการประชาชนในกรุงเทพฯ รวมจำนวนสะสม 5,668,720 โดส แบ่งผู้ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม แล้วจำนวน 1,025,493 ราย หรือ 2,050,986 โดส ส่วนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 จำนวน 3,617,734  ราย

พล.ต.อ.อัศวิน กล่าวอีกว่า ในส่วนของ กทม.ได้รับการจัดสรรวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า รวมจำนวนทั้งสิ้น 680,000 โดส โดยได้ฉีดให้แก่ประชาชนผ่านโครงการไทยร่วมใจ ที่จุดฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาล โดยความร่วมมือระหว่าง กทม.และหอการค้าไทยทั้ง 25 แห่ง โดยในเดือน มิ.ย.มีจำนวน 200,000 โดส และในเดือน ก.ค. ได้ฉีดให้แก่ผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งผู้ที่ลงทะเบียนผ่านโครงการไทยร่วมใจและได้รับแจ้งให้เลื่อนคิว รวมจำนวน 480,000 โดส ซึ่งคาดว่าจะให้บริการวัคซีนได้ครบภายในสิ้นเดือน ก.ค.นี้

สำหรับการให้บริการวัคซีน ที่จุดบริการฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาล “หน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 กรุงเทพมหานคร - หอการค้าไทย”  ขณะนี้ได้ให้บริการวัคซีนแก่ประชาชน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย

1.กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ลงทะเบียนผ่านโครงการ “ไทยร่วมใจ” ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง หรือเว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com หรือร้านค้าสะดวกซื้อ ได้แก่ เซเว่น อีเลฟเว่น แฟมิลี่มาร์ท ท็อปส์ เดลี่ และมินิบิ๊กซี ทั้งนี้รวมถึงผู้ที่เคยลงทะเบียนแล้ว และผู้ที่ลงทะเบียนใหม่

2.กลุ่มผู้ที่ตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป สามารถ Walk-in เข้ารับวัคซีนได้ที่ศูนย์ฉีดโดยแสดงหลักฐานใบฝากครรภ์หรือใบรับรองการตั้งครรภ์จากแพทย์พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนมาแสดง และ 3.กลุ่มผู้ที่มีอายุ 18 – 59 ปี ที่มีคิวฉีดวัคซีนเดิมซึ่งได้ลงทะเบียนไว้เมื่อวันที่ 26 – 30 มิ.ย. โดยคิวเดิมวันที่ 30 มิ.ย. สามารถมารับบริการได้ในวันที่ 30 ก.ค. ในส่วนของผู้ที่มีคิวนัดกับโครงการไทยร่วมใจตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.เป็นต้นไป จะแจ้งคิวฉีดวัคซีนใหม่ให้ทราบทันที เมื่อ กทม.ได้รับการจัดสรรวัคซีนเพิ่มเติม


ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวอีกว่า ขณะที้สถานการณ์การการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในกรุงเทพฯ จากข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) สำนักการแพทย์ กทม. จากยอดวันที่ 28 ก.ค.64 เวลา 23.59 น. มีจำนวนผู้ป่วยซึ่งยังคงรักษาตัวโรงพยาบาลทุกสังกัด ทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 26,969 ราย โดยเป็นผู้ป่วยโควิดซึ่งยังคงพักรักษาตัวโรงพยาบาลสังกัด กทม. รวมทั้งโรงพยาบาลสนาม และ Hospitel ในความดูแลของสำนักการแพทย์ รวมจำนวนทั้งสิ้น 3,587 ราย โดย 146 ราย มีอาการรุนแรง

สำหรับจำนวนเตียงโรงพยาบาลสังกัด กทม. รวมทั้งโรงพยาบาลสนาม และ Hospitel ในความดูแลของสำนักการแพทย์ จำนวนทั้งสิ้น3,632 เตียง ใช้ไปแล้ว 3,597 เตียง คิดเป็นร้อยละ 98.76 ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เปิดให้บริการแล้ว จำนวน 26 ศูนย์ จำนวนเตียงที่สามารถรองรับผู้ป่วย ได้ 3,499 เตียง ขณะนี้ใช้ไปแล้ว 2,439 เตียง ทั้งนี้ ศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ ฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขตอยู่ระหว่างการนำส่งผู้ป่วยเพื่อเข้าสู่สถานพยาบาลและศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อทุกแห่งให้ครบเต็มจำนวน

อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการผู้ป่วยในศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ สำนักการแพทย์ กทม. ได้ดำเนินการคัดแยกกลุ่มผู้ป่วยที่มีผลเป็นบวกจากชุดตรวจ ATK แยกกักตัวกับกลุ่มผู้ป่วยที่ทำการตรวจด้วย RT-PCR โดยจะทำการตรวจ RT-PCR ซ้ำ เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงหากผลบวกจากชุดตรวจ ATK เป็นผลบวกที่คลาดเคลื่อน เพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยสูงสุด

นอกจากนี้ สำนักอนามัย กทม.ได้สรุปจำนวนผู้ที่อยู่ระหว่างการแยกกักตัวที่บ้าน Home Isolation จากข้อมูล ณ วันที่ 29 ก.ค.64 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,364 ราย โดยเขตที่มีผู้ได้รับการแยกกักตัวที่บ้าน สูงสุด ตามลำดับ คือ เขตธนบุรี (208 ราย) บางซื่อและบางกอกใหญ่(เขตละ 130 ราย) ทุ่งครุ (120 ราย) และสายไหม (99 ราย)