͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: สธ.เผยรักษาโควิด-19พบปอดบวม ให้ ยาฟาวิพิราเวียร์ ทุกราย  (อ่าน 285 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Clayton

  • บุคคลทั่วไป
เมื่อวันที่ 9 เม.ย. ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ แถลงแนวทางการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ว่า ขณะนี้มีการปรับเกณฑ์การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ให้ทุกรายต้อง ก็ต้องนอนรพ.เป็นเวลา 2-7 วัน หากอาการดีขึ้นอาจจะย้ายไปหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ โควิด-19 ซึ่งมีทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด โดยต้องอยู่ให้ครบ 14 วัน นับจากวันเริ่มมีอาการ นอกจากนี้ยังปรับเรื่องการให้ยา เดิมหากไม่มีอาการจะไม่ให้ยา แต่ถ้ามีอาการเล็กน้อยจะให้ยามาลาเรีย ร่วมกับยาต้านไวรัสเอชไอวี แต่ถ้ามีอาการปอดบวมต้อให้ยารักษามาลาเรีย รวมกับยาต้านไวรัสเอชไอวี และยาฟาวิพิราเวียร์ ทันทีซึ่งเชื่อว่าจะช่วยลดภาวะปอดบวมรุนแรงได้ และมีผลการรักษาที่ดีขึ้น
 
นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือผู้ป่วยในการให้ข้อมูลที่เป็นจริง ครบถ้วน ถูกต้องเพื่อให้ได้รับการรักษาที่เร็ว ถ้าไม่บอกแล้วตรวจพบโควิด-19 ภายหลังทำให้เสียโอกาสในการรักษาเร็ว และเสียบุคลากรการแพทย์ที่ถูกกักตัวด้วย สำหรับการรักษาผู้ป่วยเด็กนั้น ตอนนี้ยังไม่แตกต่างกัน โดยแบ่งเป็นคนที่มีอาการกับไม่มีอาการ มีโรคแทรกซ้อนหรือไม่ ส่วนผู้ป่วยเด็กสุดที่ไทยอายุ 1 เดือนนั้นอยู่ระหว่างการรักษาที่สถาบันบำราศนราดูร เด็กยังสบายดี แต่อาจจะมีการเว้นระยะห่างระหว่างแม่ ลูก
 
นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำหรับครอบครัวที่มีเด็กนั้นยังไม่น่ากังวล เพราะเด็กมีอาการน้อยกว่าผู้ใหญ่ แต่กรณีที่เด็กเล็กมากๆ ทั่วโลกกำลังดูว่าจะอาการรุนแรงแค่ไหน จึงยังไม่น่าไว้ใจ ดังนั้นพ่อแม่ที่ไปทำงานนอกบ้าน เมื่อกลับเข้าบ้าน ต้องล้างมือ ทำให้เป็นนิสัย อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ แล้วค่อยไปใช้ชีวิตในบ้านกับเด็กเล็ก ถ้าสังเกตตัวเองมีอาการผิดปกติ ควรแยกตัวไม่คลุกคลีกับเด็ก
 
นพ.ธนรักษ์ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องกักตัวจำนวนมากนั้น ในการวางการควบคุมโรคเราให้ทุกจังหวัด ทุกเขตทำแผนประคองกิจการกรณีเสียบุคลากรไป 30-50%  จังหวัดข้างเคียงต้องส่งบุคลากรมาช่วยทำงาน ภายในจังหวัด ในเขตสุขภาพ ส่วนที่จังหวัดภูเก็ตมีบุคลากรถูกกักตัวจำนวนมากนั้นเชื่อว่าจัดการได้ สำหรับมาตรการล็อคเป้าพื้นที่เสี่ยงในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ เพื่อตรวจหาโควิด-19 ในพื้นที่นั้นอย่างเข้มข้นนั้น จริงๆ เราก็ทำอยู่แล้วคือเมื่อพบผู้ป่วยก็ตามคนสัมผัสเข้าระบบให้เร็ว จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางระบาดเพื่อชี้เป้า กำหนดกลุ่มคน หรืออาชีพเสี่ยงในการตรวจ และสอบสวนโรคให้เร็ว ถือเป็นการปรับยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และศักยภาพการตรวจที่เพิ่มขึ้น.