͸Ժ

แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - Fern751

หน้า: 1 ... 209 210 [211] 212 213 ... 216
3151
วันที่ 19 เม.ย. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้ประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะผู้หาเช้ากินค่ำหรือผู้ที่ไม่มีเงินสำรองฉุกเฉินได้รับผลกระทบอย่างมาก ระบุว่า

พวกเราถามคำถามที่น่าสนใจว่า การลงไปช่วยชุมชนแล้วให้อาหารกล่อง 1 มื้อ แล้วมื้อต่อๆ ไปจะให้ทำอย่างไร จะให้รอการบริจาคไปเรื่อยๆ?

ผมว่าวิกฤตโควิดในชุมชนครั้งนี้มันเกิดจากการที่เราร่วมมือกันหยุดกิจกรรมต่างๆเพื่อชะลอการแพร่กระจายของไวรัส ทำให้ร้านค้า สปา สนามกอล์ฟ ศูนย์การค้า การเดินทางลดลง ต้องปิดกิจการอย่างกะทันหัน และส่งผลกระทบถึงแรงงานที่ถูกหยุดจ้าง เลิกจ้าง รายได้น้อยลง ซึ่งจะกระทบคนในชุมชนที่ส่วนใหญ่เป็นคนหาเช้ากินค่ำ ไม่ได้มีเงินสำรองยามฉุกเฉิน แต่เมื่อไรที่สถานการณ์ดีขึ้น ธุรกิจเปิดให้บริการได้ งานส่วนหนึ่งก็จะกลับคืนมาและผลกระทบก็จะค่อยๆ ลดลง



ดังนั้นสิ่งที่คนในชุมชนต้องการตอนนี้คือการช่วยประทังให้อยู่รอดไปจนถึงช่วงที่ธุรกิจต่างๆ เริ่มกลับมาเปิดอีกที ข้าวกล่อง อาหารแต่ละมื้อ สิ่งช่วยเหลือต่างๆ ก็จะช่วยให้ทุกคนมีกำลังที่จะอยู่รอดไปได้จนถึงเวลานั้น ส่วนในระยะยาวคงเป็นเรื่องของทางภาครัฐที่ต้องมาปรับยุทธศาสตร์ให้เหมาะสมต่อไป

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ โควิด-19

ผมดีใจที่ช่วงนี้เห็นพวกเราหลายๆคน ลงมาช่วยชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียงกันเยอะเลยครับ มีตัวอย่างที่น่ารักดี คือเพื่อนของผมชื่อคุณต้อม บ้านอยู่แถวรามอินทรา คุณต้อมใช้วิธีง่ายๆ คือไปจ่ายค่าอาหารล่วงหน้าให้คนขายอาหารแถวๆ ละแวกบ้าน มีข้าวราดแกง รามอินทรา ซอย 21 ก๋วยเตี๋ยวไก่ รามอินทรา ซอย 19 อาหารตามสั่ง รามอินทรา ซอย 5 รวมแล้ว 120 อิ่ม คนที่ลำบากทานฟรีแล้วติ๊กเพื่อเช็คยอด คนที่พอไหวก็จ่ายตังค์ตามปกติ เป็นการช่วยเหลือเศรษฐกิจชุมชน ช่วยเหลือคนที่ยากลำบาก และใช้ระบบความไว้วางใจในการบริหารจัดการ น่ารักดีครับ



ทุกคนทำได้ครับ ช่วยกันดูแลชุมชนใกล้ๆ เรา บ้านใกล้เรือนเคียงตามกำลังที่เรามี แล้วเราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันครับ

#ทำดีอย่าอาย

3152
ภูเก็ตไม่มีผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่ม ยอดสะสม 192 ราย หายกลับบ้านแล้ว 106 ราย รักษาตัวอีก 85 ราย

คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ต รายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม – 17 เมษายน 2563 จังหวัดภูเก็ตมีผู้ติดเชื้อยืนยันโรคโควิด-19 แล้วจำนวน 192 ราย (ไม่พบรายใหม่) โดยผู้ติดเชื้อได้รับอนุญาต ให้กลับบ้าน 106 ราย (เพิ่มขึ้นจากเดิม 7 ราย) จำหน่าย 1 ราย (จำหน่าย เนื่องด้วยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์) กำลังรักษาพยาบาลอยู่ 85 ราย ในจำนวนนี้ อาการรุนแรง 3 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ที่เหลืออาการอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

ผู้มีอาการเข้าเกณฑ์เฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 2,811 ราย (รายใหม่ 209 ราย)โดยยังคงรักษาพยาบาล 127 ราย ในจำนวนนี้อยู่ระหว่างรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 42 ราย กลับบ้านแล้ว 2,684 ราย

ทั้งนี้ ผู้เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังทุกราย ทีมงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตและผู้เกี่ยวข้องได้ดำเนินการสอบสวน ควบคุม ป้องกันโรคตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข

สำหรับผู้ติดเชื้อยืนยันโรคโควิด-19 ทั้งหมดที่รายงานมาข้างต้นนั้น ยังคงรับการรักษาที่โรงพยาบาล ทั้งนี้ ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต จึงขอเน้นย้ำ เรื่องมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมถึงแม้จะไม่มีอาการป่วยก็ต้องแยกตัวเองออกจากบุคคลอื่น งดรวมกลุ่มทำกิจกรรมที่ไม่จำเป็น ไม่เข้าไปในที่ชุมชนใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์บ่อยๆ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลที่เรารัก และถ้าหากมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ เหนื่อย
จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ปวดศีรษะหรือ ถ่ายเหลว ให้รีบไปพบแพทย์ สำหรับประชาชนทั่วไป ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

3153
“เทพไท” ชี้ เยียวยาล่าช้า คนจนอดตาย แนะ รัฐบาลกลับลำ ใช้วิธีเยียวยาใหม่ ชง 2 ข้อ ทำด่วน ไม่งั้นช่วยคนจนหาเช้ากินค่ำ ไม่ทันการณ์ ขอรัฐบาลอย่าดื้อตาใส ใช้วิธีราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน

วันที่ 18 เม.ย. นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงโครงการ "เราไม่ทิ้งกัน" ของรัฐบาลว่า นับตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม จนถึงขณะนี้เป็นเวลาเกือบ 1 เดือนแล้ว ที่รัฐบาลยังดำเนินการช่วยเหลือเยียวยา ผู้ได้รับกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังไม่เสร็จสิ้น ทั้งที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่ในลักษณะทรงตัว หลังจากรัฐบาลประกาศล็อกดาวน์ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาเป็นเวลาเกือบ 1 เดือน ชาวบ้านอดยาก ไม่มีรายได้ ไม่มีข้าวกิน มาเป็นเวลาหลายวัน แต่กระบวนการช่วยเหลือเยียวยาของรัฐบาลล่าช้า ทำให้คนจนที่ไม่มีเงินเก็บ ไม่มีรายได้ ที่หากินแบบวันต่อวัน หรือต้องหาเช้ากินค่ำ มีความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส การที่รัฐบาลเปิดให้มีการลงทะเบียนเพื่อช่วยเหลือเยียวยาในโครงการ "เราไม่ทิ้งกัน" ล่าสุด จำนวน 27.5 ล้านคน แต่ตอนนี้ได้รับการเยียวยาได้แค่ 4 ล้านคน ยังเหลือคนที่รอการช่วยเหลืออีกจำนวนมาก รวมถึงผู้ที่ถูกตัดสิทธิ์จากการเยียวยา ต้องไปอุทธรณ์ หรือ ทบทวนสิทธิ์อีก ในวันที่ 20 เมษายน ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 23 พฤษภาคม ถ้ายังมีข้อสงสัยก็ต้องใช้กลไกหรือตัวแทนของกระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย ลงไปพิสูจน์ข้อเท็จจริงในพื้นที่เพื่อความถูกต้อง ซึ่งไม่มีหลักประกันว่า จะยืดเยื้อเสร็จสิ้นเมื่อไหร่

นายเทพไท กล่าวต่อว่า การที่รัฐบาลออกมาบอกว่า จะจ่ายคืนย้อนหลังให้ 2 เดือน สำหรับการเยียวยาที่ล่าช้านั้น เป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด เพราะการเยียวยาช่วยเหลือคนจน ต้องทำเร่งด่วน ในทันที ไม่ควรมีการจ่ายย้อนหลัง เพราะไม่ใช่การชำระหนี้ แต่เป็นการช่วยเหลือให้คน มีกินมีใช้ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เท่านั้น การแก้ปัญหาของรัฐบาลในลักษณะเช่นนี้ ก็จะทำให้เกิดความล่าช้า ยืดเยื้อ และความเดือดร้อนของประชาชน จะไม่ได้รับการแก้ไขในทันท่วงที จึงไม่เข้าใจว่า ทำไมรัฐบาลยังดื้อตาใส ที่ไม่ทบทวนโครงการนี้ เพื่อเปลี่ยนไปเลือกใช้แนวทางตามที่ตนได้เสนอไว้ ซึ่งมีผู้เห็นด้วยเป็นจำนวนมาก คือ

1.จ่ายให้กับคนไทยทุกคนอายุ 18 ปีขึ้นไป มีเงินฝากไม่เกิน 1 แสนบาท หรือ 2.จ่ายให้กับทุกครัวเรือน ครัวเรือนละ 10,000 บาท ซึ่งถ้าเลือกใช้ 2 แนวทางนี้ จะเยียวยาสำเร็จได้ ภายในไม่เกิน 10 วัน เป็นธรรมกับทุกฝ่าย แต่เมื่อรัฐบาลยืนกระต่ายขาเดียว ที่จะใช้วิธีการเดิม ก็ต้องใช้เวลายาวนานหลายเดือน ไม่ทันต่อเหตุการณ์ความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดขึ้น รัฐบาลอาจจะไม่เข้าใจถึงอารมณ์ความรู้สึกของคนจน ที่ไม่มีข้าวจะกิน ในแต่ละมื้อในแต่ละวัน ว่า มีความทุกข์ทรมานมากน้อยแค่ไหน อยากให้รัฐบาลแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างทันท่วงที ไม่ควรใช้ระบบทางราชการ มาแก้ปัญหาความเดือดร้อนของคนจน ในสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นนี้

3154
มื่อวันที่ 18 เม.ย. น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ ได้โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เตรียมทำหนังสือถึงมหาเศรษฐี 20 อันดับที่รวยที่สุดของประเทศไทย เพื่อขอความร่วมมือในการร่วมทีมช่วยแก้ปัญหาโควิด-19

โดย น.ส.ปารีณา ระบุว่า "เห็นหลายท่านเรียกร้องในโซเชียลให้พลเอกประยุทธร่อนหนังสือถึงเศรษฐีที่รวยที่สุด 20 อันดับแรกของไทย เพราะถ้าร่อนหนังสือถึงเศรษฐีรวยที่สุด 10 อันดับแรก หนังสือจะไม่ถึงทักษิณแน่นอน ซึ่งเรื้องนี้แก้ไขไม่ยาก ดิฉันขอเสนอให้พลเอกประยุทธร่อนหนังสือถึง 10 อันดับคนเลวที่สุดในประเทศ รับรองถึงทักษิณแน่นอน"

3155
เมื่อวันที่ 18 เม.ย. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่ามีกลุ่มนักศึกษาไทยตกค้างอยู่ที่สหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมาก โดย น.ส.อรัฐา บุญวัฒนสุนทร ตัวแทนกลุ่มฯ มีการทำหนังสือระบุว่า นักเรียนนักศึกษาไทยกว่าร้อยคนตกค้างในพื้นที่เสี่ยง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา รอคอยความช่วยเหลืออย่างมีความหวัง หลังรัฐบาลประกาศขยายเวลาปิดน่านฟ้าเพิ่มรอบที่ 3
สืบเนื่องจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ออกประกาศฉบับที่ 3 ขยายเวลาห้ามเครื่องบินเข้าไทย ออกไปจนถึงวันที่ 30 เมษายนนี้ ทำให้ประชาชนคนไทย นักเรียนนักศึกษา นักท่องเที่ยวตกค้างอยู่ในต่างประเทศจำนวนมาก รวมถึงประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศเสี่ยงอันดับหนึ่งของการติดเชื้อโควิด-19

ทำให้กลุ่มประชาชนคนไทย นักเรียนนักศึกษาจากหลายรัฐ ในประเทศสหรัฐอเมริกามากกว่า 120 คน ร่วมลงชื่อเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาล หน่วยงาน และกงสุลเข้าให้ความช่วยเหลือ ทั้งในเรื่องกรอบระยะเวลาที่แน่นอนในการปิดน่านฟ้า และช่วยเหลือโดยจัดเครื่องบินเหมาลำ เพื่อมารับผู้โดยสารที่ตกค้างเป็นกรณีพิเศษ ตามประกาศจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยในข้อที่ (5) อากาศยานที่ได้รับอนุญาตให้ทำการบินรับส่งบุคคลกลับประเทศไทยหรือกลับภูมิลำเนา (Repatriation)

เนื่องจากผลกระทบในการประกาศปิดน่านฟ้าทั้ง 3 รอบ ทำให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบต้องอยู่อย่างไร้ซึ่งความชัดเจน และความไม่แน่นอน ประกอบกับหลายฝ่ายมีปัญหาในด้านต่างๆ ซึ่งจากการรวบรวมรายชื่อผู้ที่เดือดร้อนนั้นได้ข้อสรุปดังนี้

1. หนังสือ I20, F1, J1 วีซ่าของนักเรียนนักศึกษากำลังจะหมดอายุ และสำหรับบางคนได้หมดอายุแล้ว

2. นักเรียนนักศึกษาและคนไทยจำนวนมาก อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยใจกลางนิวยอร์ก และในอีกหลายเมือง

3. มีการซื้อตั๋ว และเลื่อนไฟลท์หลายรอบ จึงทำให้เครดิตเต็มวงเงิน และการคืนเงินค่าตั๋วที่ล่าช้าทำให้หลายคนประสบปัญหาด้านการเงิน

4. ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทั้งค่ากินอยู่ ค่าต่อวีซ่า ค่าจองตั๋วในครั้งใหม่ รวมถึงค่าเช่าบ้าน ทำให้ผู้ที่ไม่มีรายได้ เช่น นักเรียน นักศึกษาได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก เป็นต้น

5. นักเรียน นักศึกษาไม่มีรายได้ เงินสำรองฉุกเฉินสำหรับใช้จ่ายเหลืออยู่ไม่มาก สำหรับนักเรียนบางคนไม่สามารถดูแลตนเองได้ และไม่มีญาติหรือคนรู้จักอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

6. นักเรียน นักศึกษาไม่มีที่พักอาศัย เนื่องจากบางคนหมดสัญญาเช่าบ้าน หมดสัญญากับ Host หรือทำเรื่องคืนบ้านไปแล้ว และบางคนไม่มีเงินเช่าที่อยู่อาศัยต่อ

7. มีผู้สูงอายุที่ติดค้างอยู่ เนื่องจากเดินทางมาเยี่ยมลูกหลาน ซึ่งเสี่ยงต่อการติดโรค และต้องการกลับไปพบหมอตามนัดเพื่อรับยา เนื่องจากโรคประจำตัวเรื้อรัง และเป็นอันตรายแก่ชีวิต

8. สำหรับวีซ่าทำงาน สถานที่ทำงานปิด ไม่สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพได้ และถูกยกเลิกสัญญาจ้างงาน

9. ระบบสาธารณสุขไม่รองรับการรักษา และไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากไม่ได้ถือสัญชาติอเมริกัน

10. ผู้ที่เดินทางมาท่องเที่ยว ถือวีซ่าท่องเที่ยวซึ่งกำลังจะหมดอายุ ต้องเดินทางกลับไปเพื่อดูแลกิจการของตนเอง และสำหรับบางคนต้องกลับไปเพื่อดูแลครอบครัวที่ป่วย และมีปัญหาด้านสุขภาพ

ทั้งนี้ ประชาชนคนไทยที่ตกค้างอยู่ได้รวบรวมรายชื่อส่งให้ทางกงสุลในนครนิวยอร์ค เพื่อส่งต่อให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบและรัฐบาล เพื่อร่วมพิจารณาเข้าช่วยเหลือกับบุคคลกลุ่มนี้แล้ว ซึ่งทุกคนรอการตอบกลับอย่างมีความหวัง อย่างไรก็ตามทุกคนที่มีรายชื่อดังกล่าวได้ดูแลและปฏิบัติตนในการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 เป็นอย่างดี พร้อมยินยอมทำตามมาตรการที่รัฐบาลช่วยเหลือและจัดการให้ รวมถึงพร้อมรับการกักตัวและปฏิบัติตามคำสั่งที่รัฐบาลได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

สอบถามรายละเอียดและขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อรัฐา บุญวัฒนสุนทร ตัวแทนกลุ่มนักศึกษาไทยที่ตกค้าง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา +1 7732409308 หรือ Iam.nan@hotmail.com

3156
"พุทธิพงษ์" เผยเตรียมเจรจาค่ายมือถือลดภาระค่าโทรศัพท์ประชาชน หวังบรรเทาความเดือดร้อนข่วงวิกฤติโควิด-19 คาดจันทร์นี้ได้ข้อสรุป

เมื่อวันที่ 18 เม.ย.63 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม มีนโยบายให้หน่วยงานภาครัฐดูแลช่วยเหลือประชาชน ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในด้านต่างๆ ให้มากที่สุดนั้น กระทรวงดีอีเอสในฐานะที่รับผิดชอบงานด้านการติดต่อสื่อสารของประเทศ จึงมีแนวคิดที่จะช่วยลดภาระค่าโทรศัพท์ของประชาชน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ให้ฟรีอินเทอร์เน็ต 10 GB และเพิ่มความเร็วของเน็ตบ้านเป็น 100 mbps เพื่อส่งเสริมการทำงานที่บ้าน หยุดเชื้อเพื่อชาติ ไปแล้ว

สำหรับแนวคิดดังกล่าวกระทรวงดีอีเอส จะเร่งหารือกับ(กสทช.) และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ค่ายต่างๆ เพื่อแบ่งเบาภาระค่าโทรศัพท์ของคนไทยให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะช่วงที่ประชาชนต้องอยู่ที่บ้าน และไม่สะดวกในการเดินทางข้ามจังหวัดเพื่อไปมาหาสู่กัน ช่วยสกัดกั้นการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งขณะนี้ได้ผลดีมากขึ้นเป็นลำดับ โดยคาดว่าวันที่ 20 เม.ย.ได้ข้อสรุป

รมว.ดีอีเอส กล่าวว่า กระทรวงดีอีเอสตระหนักดีถึงความยากลำบากของพี่น้องประชาชนทุกสาขาอาชีพในช่วงนี้ จึงพยายามทำทุกวิถีทาง เพื่อช่วยเหลือดูแลทุกคนให้ดีที่สุด โดยในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงได้ดำเนินการหลายเรื่อง เช่น จัดทำแอปพลิเคชันติดตามตัวกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ "AOT Airports" แอปพลิเคชันให้ความรู้ประชาชน "Card2U" แอปพลิเคชันช่วยลดความเสี่ยงของแพทย์พยาบาล "หมอชนะ" ระบบ AI สำหรับโรงพยาบาลช่วยในการวินิจฉัยโรค และตู้ Test station ช่วยคัดกรองโควิด จัดส่งหน้ากากอนามัยผ่านไปรษณีย์ไทยไปยังกลุ่มเสี่ยงทั่วประเทศ และการจัดการกับข่าวปลอม เพื่อลดความสับสนตื่นตระหนกในสังคม เป็นต้น.

3157
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 17 เม.ย. ที่หน้าศูนย์สายตาเฮลท์ตี้วิชั่น เลขที่ 148/203-4 ถ.ศรีเกษม หมู่ที่ 1 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี น.ส.ธิดา ตระกูลแก่นชาเดช เจ้าของร้านขายแว่นตา พร้อมกลุ่มเพื่อนนำข้าวสารอาหารแห้งและเงินสดจำนวนหนึ่งร้อยบาท จัดเป็นชุดจำนวน 99 ชุด เพื่อนำมาแจกให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19

ขอช่วยเหลือตามกำลังที่พอมี
น.ส.ธิดา กล่าวว่า ได้ร่วมกับกลุ่มเพื่อนที่ช่วยสนับสนุนข้าวสาร มาม่า น้ำปลา น้ำมันพืช ปลากระป๋อง และเงินสด เพื่อนำมาแจกให้กับบุคคลที่ได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโควิด-19 ในขณะนี้ ถึงจะมีจำนวนไม่มากแต่ก็ทำด้วยใจ

เพราะบางคนได้รับความเดือดร้อนจากการตกงาน ถูกเลิกจ้าง หยุดงาน จึงได้ชวนกลุ่มเพื่อนมาช่วยกันตามกำลังที่พอจะช่วยกัน แบ่งปันและบรรเทาความทุกข์ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ส่วนเงิน 1 ร้อยบาทที่ต้องใส่ไปให้ด้วย เพราะเข้าใจดีว่าบางคนยังต้องมีความจำเป็น ที่จะนำเงินเพื่อไปใช้ซื้อสิ่งของอย่างอื่นนอกเหนือจากสิ่งของที่ได้รับแจกไป

ส่วนตัวที่จัดแจกสิ่งของเจ้านวน 99 ชุด เพราะคิดว่าเราจะก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน และได้ทำแล้วก็รู้สึกสบายใจที่ได้ช่วยกันแบ่งเบาภาระในช่วงที่ทุกคนได้รับความเดือดร้อน และขอให้โควิด-19 หายไปจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยเร็ว

3158

กรณี "จิรายุส วรรธนะสิน" (โจ นูโว) นักร้องชื่อดัง ตอบคอมเมนต์แฟนคลับที่เข้าไประบายหลังจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 จนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก

โดยข้อความดังกล่าว โจ ตอบว่า ตายได้ตายไปเลยครับ มันเป็นเรื่องต้องช่วยตัวเองธรรมชาติจะคัดสรรผู้ที่อยู่รอดสำหรับประเทศกำลังพัฒนาทฤษฎีชาร์ลส ดาร์วินครับ

ล่าสุดเพจ หมออนามัยขี้mouth โพสต์ความคิดเห็นที่โจ ตอบแฟนคลับผ่านทางอินสตาแกรมอีกครั้ง ถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรทางการแพทย์ ความว่า "ถึงจุดนี้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่เคยเจอความรุนแรงแบบนี้ลาออกกันไปเยอะครับ บางคนเอาของกลับบ้านก็มี เค้าเคยชินกับการทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม ในเชิงรุกตัวใครตัวมัน โลกเสรีน้ำใจไม่ค่อยมีครับ"

โดยเพจดังกล่าว แสดงความไม่เห็นด้วยกับคอมเมนต์ดังล่าว พร้อมเขียนวิพากษ์วิจารณ์ความว่า

เมื่อ โจ นูโว กล่าวหาไว้สองประเด็น

ประเด็นแรก ถือว่าหมิ่นเกียรติบุคลากรการแพทย์และสาธารณสุขอย่างมาก
"เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เค้าเคยชินกับการทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม"

ประเด็นต่อมา ข้อความกำกวมๆ แต่อ่านแล้วไม่ได้เป็นภาพบวกกับคนทำงานสาธาณสุขที้กำลังสู้โควิดเท่าไหร่ "เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ไม่เคยเจอความรุนแรง ลาออกไปก็เยอะ.....บางคนเอาของกลับบ้านไปก็มี"

ทั้งนี้โพสต์ดังกล่าวมีบุคลากรทางการแพทย์ และ สาธารณสุขเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก โดยทุกคนต่างยืนยันว่าทำงานเพื่อสู้วิกฤตโควิด-19 อย่างเต็มที่

3159
วันที่ 16 เมษายน 2563 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา แจ้งว่ามีผู้ป่วยติดเชื้อโรค COVID-19 เพิ่มขึ้นอีก จำนวน 3 ราย ล้วนเป็นกลุ่มบุคคลที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน ที่บิดาหัวหน้าครอบครัวติดเชื้อก่อนหน้านั้นแล้ว จากการไปร่วมกิจกรรมทางศาสนาที่ศูนย์ดะวะห์ ที่ มัสยิดพงยามู หมู่ที่ 3 ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา ซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อไปแพร่ให้กับลูกๆ อายุ 5 ปี ,17 ปี และ 18 ปี ตามลำดับ ขณะนี้ถูก

สำหรับตัวเลขล่าสุดของจังหวัดยะลา ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด รายงานว่า มีผู้ป่วยสะสม จำนวน 93 ราย ผู้ป่วยใหม่ 3 ราย รักษาหายสะสม 41 ราย รักษาในโรงพยาบาล 50 ราย เสียชีวิต 2 ราย

ทางด้าน นายธราวุธ ช่วยเกิด นายอำเภอบันนังสตา เปิดเผยว่าในพื้นที่ของ อ.บันนังสตา จ.ยะลา มีผู้เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังสอบสวนโรค รวมจำนวน 761 ราย แยกเป็นผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 51 ราย ตรวจไม่พบเชื้อจำนวน 318 ราย รอผลแล็บ จำนวน 97 ราย ผู้สัมผัสไม่แสดงอาการ จำนวน 205 ราย และได้รับการประสานจากนายแพทย์สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา ว่า จะเร่งดำเนินการเข้าปูพรมตรวจในพื้นที่ ที่มีการแพร่ระบาด แบบขีดล้อมวงจำกัดเฉพาะ โดยจะใช้กำลังเสริมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของ อ.กรงปินัง และ อ.ธารโต เพื่อจะได้ไม่ตามหลังของการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19 ต่อไป

3160
"ธนกร" ยัน ทบทวนสิทธิ์ขอรับเงินเยียวยา 5 พัน จะรวดเร็ว ใช้เครือข่ายคลังจังหวัด ธนาคารของรัฐ และกลไกมหาดไทย ย้ำ ใช้เงินกู้จ่ายครบ 3 เดือน ยัน ยึด "อนุดิษฐ์" เป็นแบบอย่าง เสนอแนะอย่างสร้างสรรค์


วันที่ 16 เม.ย. นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงความคืบหน้าการจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท ว่า ขณะนี้กระทรวงการคลัง ทยอยจ่ายเงินเยียวยาอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่า ภายในสัปดาห์นี้จะสามารถจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ผ่านเกณฑ์รวมทั้งหมด 3.2 ล้านคน นอกจากนั้น กระทรวงการคลัง จะเปิดระบบ “เราไม่ทิ้งกัน” ซึ่งจะมีการเพิ่มปุ่ม “ทบทวนสิทธิ์" ในวันจันทร์ที่ 20 เมษายน นี้ และขอแนะนำให้ทำการยื่นทบทวนสิทธิ์ผ่านระบบ online เท่านั้น ทั้งนี้ เมื่อประชาชนยื่นทบทวนสิทธิ์ กระบวนการพิสูจน์ทราบจะเริ่มต้นทันที โดยกระทรวงการคลัง จะใช้เครือข่ายคลังจังหวัด ธนาคารของรัฐ และกลไกของกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้ยื่นทบทวนสิทธิ์ทันที หากผลการทบทวนสิทธิ์ผ่านก็จะจ่ายเงินเยียวยาทันที ดังนั้น กระบวนการทบทวนจะรวดเร็ว เพราะนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ต้องการที่จะให้เงินเยียวยาถึงมือชาวบ้านโดยเร็ว ส่วนกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระบุว่า มีเงินจ่ายเยียวยาแค่เดือนเมษายนเดือนเดียวนั้น เข้าใจว่า เป็นงบประมาณที่กันไว้จากปี 63 แต่เมื่อมีการกู้เงินตาม พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ก็จะใช้เงินส่วนนี้เติมเข้าไปครบ 3 เดือน คือในเดือนมิ.ย.และ พ.ค.

นายธนกร กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ระบุว่า ส.ส.พรรคเพื่อไทย ให้ความร่วมมือรัฐบาลในการสื่อสารกับประชาชน ถึงมาตรการเยียวยา 5,000 บาทนั้น ต้องขอขอบคุณ และรัฐบาลจะเร่งดำเนินการจ่ายเงินเยียวยาและช่วยพี่น้องประชาชนทุกกลุ่ม ที่ได้รับความเดือดร้อนโดยเร็ว ขอยืนยันว่า คนที่เดือดร้อนจริง จะได้รับการเยียวยาอย่างแน่นอน และไม่ต้องกังวล กระบวนการยื่นทบทวนสิทธิ์จะรวดเร็ว รัฐบาลไม่ทอดทิ้งพี่น้องประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม อยากให้นักการเมืองยึดน.อ.อนุดิษฐ์ เป็นแบบอย่าง ซึ่งมักจะออกมาแนะนำรัฐบาลอย่างสร้างสรรค์ ไม่เหมือน ส.ส.พรรคเพื่อไทย บางคน หรือโฆษกพรรคเพื่อไทย ที่มักจะออกมาด่ารัฐบาลทุกวัน โดยไม่เกิดประโยชน์อะไรกับพี่น้องประชาชนเลย

3161
ศบค. รายงาน จังหวัดยะลาและปัตตานี พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ผ่านการสัมผัสต่อกันถึง 3 ทอด เริ่มจากการร่วมดาวะห์ในต่างประเทศ ก่อนเกิดการสัมผัสและติดเชื้อต่อๆ กัน

วันที่ 14 เม.ย. 2563 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. กล่าวถึงการรายงานจากทีมระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กรณีผู้ป่วยโควิด-19 ใน 4 จังหวัดภาคใต้ ที่คนไทยกลุ่มดาวะห์ (พิธีทางศาสนา) เดินทางกลับมาจากประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และปากีสถาน รวมถึงพิธีทางศาสนาที่บันนังสตา ตั้งแต่ช่วงเดือน มี.ค. - 12 เม.ย. 2563

ยะลา 82 ราย เริ่มมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่ 16 มี.ค. จนถึง 12 เม.ย. นั้น จากการสอบสวนโรคมีผู้ป่วยติดเชื้อการร่วมดาวะห์, จากการสัมผัสผู้ไปร่วมดาวะห์ และยังติดเชื้อจากผู้ที่ไปสัมผัสผู้ร่วมดาวะห์อีกทอดหนึ่ง หรือ เป็น 3 ทอด
สงขลา 56 ราย เริ่มมีผู้ติดเชื้อตั้งแต่ 20 มี.ค. โดยมีผู้ป่วยติดเชื้อจากการไปร่วมดาวะห์ และการสัมผัสผู้ไปร่วมดาวะห์

นราธิวาส 28 ราย เริ่มมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่ 16 มี.ค. ผู้ป่วยติดเชื้อจากการร่วมดาวะห์ และสัมผัสผู้ไปร่วมดาวะห์
ปัตตานี 77 ราย เริ่มมีผู้ติดเชื้อตั้งแต่ 17 มี.ค. มีทั้งผู้ป่วยติดเชื้อการร่วมดาวะห์, จากการสัมผัสผู้ไปร่วมดาวะห์ และยังติดเชื้อจากผู้ที่ไปสัมผัสผู้ร่วมดาวะห์อีกทอดหนึ่งเช่นเดียวกับยะลา

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการสัมผัสต่อกันจนติดเชื้อโควิด-19 แล้ว อีกสาเหตุหนึ่งของผู้ป่วยยังมาจากการไปในสถานที่แออัดด้วย ทั้งนี้ โฆษก ศบค. กล่าวว่า การนำเรื่องนี้มารายงานเพื่อให้ทุกคนได้รับทราบว่าสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการสืบหาผู้ติดเชื้อเป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องการช่วยเหลือคนทุกกลุ่มทุกศาสนา.

3162
สำนักข่าว บีบีซี รายงานว่า กระทรวงสาธารณสุขของสหราชอาณาจักร (ยูเค) เปิดเผยในวันอาทิตย์ที่ 12 เม.ย. 2563 ว่า มีผู้เสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 ในประเทศเพิ่มอีก 737 ศพในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ลดลงจากเมื่อวันเสาร์ที่มีผู้เสียชีวิตถึง 917 ศพ ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดอยู่ที่ 10,612 ศพแล้ว

รายงานดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจาก เซอร์ เจเรมี ฟาร์ราร์ ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์อาวุโสของรัฐบาล ออกมาเตือนว่า ยูเคอาจเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่ตัวนี้มากที่สุดในยุโรป โดยล่าสุดยอดผู้ติดเชื้อสะสมในประเทศเพิ่มเป็น 79,885 ราย สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก และอันดับ 5 ของยุโรป


บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร
ขณะที่ นายโรเบิร์ต คุฟเฟ หัวหน้าฝ่ายสถิติของ บีบีซี ระบุว่า แม้ยอดผู้เสียชีวิตรายวันในวันอาทิตย์ลดลงจากช่วง 4 วันที่ผ่านมามาก แต่ตัวเลขที่แท้จริงอาจสูงกว่านี้ เนื่องจากยอดดังกล่าวไม่ได้รวมผู้เสียชีวิตนอกโรงพยาบาล เช่นที่บ้านพักคนชรา หรือตามชุมชนต่างๆ อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวลองขออัตราผู้ติดเชื้อรายใหม่, ผู้ที่ต้องเข้าโรงพยาบาล และผู้เสียชีวิต เป็นหลักฐานว่า การล็อกดาวน์กำลังได้ผล

อีกด้านหนึ่ง นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน แห่งสหราชอาณาจักร วัย 55 ปี สามารถออกจากโรงพยาบาลได้แล้ว หลังล้มป่วยด้วยโรคติดเชื้อโควิด-19 โดยเขากล่าวผ่านคลิปวิดีโอที่โพสต์ลงบนทวิตเตอร์ ขอบคุณเจ้าหน้าที่สำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS) ที่ช่วยชีวิตของเขาเอาไว้ รวมทั้งพยาบาล 2 คนซึ่งคอยปฏิบัติหน้าที่อยู่ข้างเตียงชองเขาตลอด 48 ชั่วโมง

อย่างไรก็ตาม สำนักงานนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ออกแถลงการณ์ว่า นายจอห์นสันจะยังไม่กลับมาทำงานในทันที และจะพักรักษาตัวที่บ้านพักตากอากาศประจำตำแหน่งซึ่งมีชื่อว่า ‘เชเกอร์ส’ (Chequers)


โรงพยาบาล เซนต์ โทมัส
ทั้งนี้ นายจอห์นสันถูกตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 เมื่อ 27 มี.ค. ก่อนจะต้องแอดมิตเข้าโรงพยาบาล เซนต์ โทมัส ในกรุงลอนดอน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 เม.ย. เนื่องจากอาการป่วยไม่ดีขึ้น และถูกส่งเข้าห้องไอซียูในวันต่อมาเพราะอาการทรุดลง โดยเขาอยู่ในห้องไอซียูนาน 3 คืน และถูกย้ายกลับมาห้องผู้ป่วยทั่วไปในวันที่ 9 เม.ย.

3163
 วันที่ 10 เม.ย. หลังโฆษก กทม. แถลงข่าวประกาศพื้นที่ กทม. งดขายสุราประเภทที่ 1 และ 2 ที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่าย ให้งดจำหน่ายสุราทั้งขายปลีกและขายส่ง ตั้งแต่วันที่ 10-20 เม.ย. เป็นเวลา 10 วัน ในทุกๆ สถานประกอบการที่มีใบอนุญาต จึงขอให้ผู้ประกอบการได้ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตาม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดีกว่าต้องมาเริ่มต้นใหม่สังคม โดยก่อนหน้านี้ 10 จังหวัดได้ประกาศห้ามขายสุราไปก่อนแล้ว

สำหรับ จ.นนทบุรี นั้นยังไม่มีประกาศห้ามจำหน่ายสุรา หรือล็อกดาวน์ตาม กทม. ส่วนบรรยากาศในห้างค้าปลีกในพื้นที่นนทบุรี มีประชาชนทั้งของ จ.นนทบุรี และ กทม. เดินทางเข้ามาหาซื้อสุราจำนวนมาก ตั้งแต่หลัง กทม.ประกาศ เนื่องจากใน กทม.ไม่สามารถหาซื้อได้ จึงเดินทางออกมาพื้นที่ใกล้เคียง จากการสอบถามพนักงานห้างค้าปลีก เปิดเผยว่า ตั้งแต่เมื่อวานจำนวนลูกค้าที่มาซื้อสุราและเบียร์ มีจำนวนมากกว่าปกติ ทำให้ยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น วันนี้เพียงครึ่งวันสินค้าบางชนิดที่ชั้นหมด จนทำให้พนักงานต้องนำสินค้าออกมาเพิ่ม จนบางชนิดที่เป็นที่นิยมเพิ่มไม่ทัน

ด้านลูกค้าสาวรายหนึ่ง กล่าวว่าตนทำงานที่ จ.นนทบุรี หลัง กทม.ประกาศห้ามขายสุรา จึงหาซื้อไม่ได้ ปกติตนและแฟนจะดื่มกันทุกวัน วันนี้จึงได้แวะซื้อไว้ให้เพียงพอสำหรับช่วงห้ามขาย และก็มีเพื่อนบางคนทราบว่าตนมาเดินห้างก็ฝากซื้อด้วย
ลูกค้าชาย กล่าวว่า ปกติตนดื่มคนเดียวประจำอยู่แล้ว ที่ซื้อเยอะเพราะขี้เกียจออกมาบ่อยๆ สำหรับนโยบายที่ออกมาแบบนี้ก็เพื่อป้องกันการรวมกล่มแพร่กระจาย แต่ในเมื่อร้านอาหารปิดทุกคนก็อยู่บ้านอยู่แล้ว ก็น่าจะช่วยได้แล้ว นโยบายนี้ไม่น่าจะช่วยได้เท่าไหร่ กลับทำให้คนใน กทม.กระจายออกหาซื้อตามจังหวัดใกล้เคียงอาจเป็นการแพร่กระจายเชื้อโรคจาก กทม.สู่จังหวัดอื่นๆ หรือเปล่า

ต่อมาผู้สื่อข่าวเดินทางมาที่ห้างค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดพบว่าที่ชั้นจำหน่ายเครื่องดื่มสุราและเบียร์ ยังคงมีสินค้าวางจำหน่ายเป็นจำนวนมาก สอบถามพนักงานทราบว่ามีประชาชนมาซื้อสุราและเบียร์เพิ่มขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นคนจาก กทม.หรือเปล่า ส่วนเรื่องกักตุนในจังหวัดนนทบุรียังคงมีประชาชนไม่ทราบว่าจะมีการห้ามจำหน่ายจึงยังไม่เกิดผลกระทบมากเท่าไหร่

จากการสอบถามผู้หญิงที่มาซื้อเบียร์ ทราบว่า ตนทราบว่า กทม.ห้ามจำหน่าย ส่วนที่นนทบุรียังไม่ทราบเรื่อง จึงไม่ได้กักตุนอะไรยังคงหาซื้อได้ปกติ สินค้าไม่ขาดตลาด ตนแค่ซื้อไปทานและถ้าประกาศห้ามจำหน่ายจนถึงสิ้นเดือนตนก็โอเคไม่มีปัญหาอะไร

สำหรับร้านค้าส่งสุราและเบียร์ ถนนประชาราษฎร์ อ.เมือง จ.นนทบุรี นางชฎาพร (สงวนนามสกุล) เจ้าของร้าน กล่าวว่า หาก จ.นนทบุรี ประกาศตนก็ต้องทำตาม เพราะเป็นนโยบาย 10 วันตนไม่เกิดผลกระทบเท่าไหร่แต่ลูกน้องจะเดือดร้อน ตนคงต้องช่วยเรื่องการกินอยู่ ที่ร้านเมื่อวานมีลูกค้าเพิ่มขึ้นแต่ไม่มากนัก คนนนท์ยังไม่ทราบเรื่องมากกว่าเลยไม่มีการกักตุนกัน แต่ถ้าปิดนานกว่านี้น่าจะส่งผลกระทบแน่นอนเพราะที่ร้านขายสินค้าประเภทเดียว การห้ามแบบนี้อาจมีส่วนช่วยเรื่องการแพร่เชื้อโรคได้บ้างเท่านั้น

3164
เมื่อวันที่ 8 เม.ย. ที่ห้องประชุมอาลัมภางค์ ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดลำปาง นายก่อพงษ์ โกมลรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานการประชุมศูนย์อำนวยการเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 8/2563

มีหัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมฯ เพื่อติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม ซักซ้อมความเข้าใจในมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของจังหวัด เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า2019

โดยขณะนี้จังหวัดลำปาง ได้บูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อสวัสดิภาพ และชีวิตของพี่น้องประชาชนทุกคน ตามข้อสั่งการของกระทรวงมหาดไทย

ได้จัดเตรียมพื้นที่รองรับการกักกันตัวของจังหวัด และจะจัดหาสถานที่เพิ่มเติมให้ครอบคลุมในแต่ละอำเภอ ให้มีความพร้อม รวมไปถึงการจัดเตรียมโรงพยาบาลสนาม คลังเก็บอาหาร เครื่องดื่ม แลลงพื้นที่สร้างความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดเป็นต้น

นอกจากนี้ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดลำปาง ยังจัดเจ้าหน้าที่ประจำจุดรับเรื่องผลกระทบต่างๆ จากประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรับเรื่องผลกระทบด้านต่างๆ พร้อมให้คำปรึกษาแก่ประชาชน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด ณ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดลำปาง ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดลำปาง ซึ่งมีประชาชนทยอยมาใช้บริการและขอคำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดลำปาง จัดช่องทางไว้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน อาทิ ทางโทรศัพท์หมายเลข 0 5435 1211 หมายเลขสายด่วน 1567 หรือผ่านช่องทาง Facebook ไปรษณีย์ส่งถึง ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดลำปาง ศาลากลางจังหวัดลำปาง ถ.วชิราวุธดำเนิน ต.พระบาท เมืองลำปาง จ.ลำปาง 52000 และ email : damrongdhama.lp@gmail.com

สำหรับ สถานการณ์โควิด-19 จังหวัดลำปาง ข้อมูลวันที่ 8 เม.ย.นี้ พบผู้ป่วยยืนยันรายใหม่ 1 ราย สะสม 4 ราย จำนวนผู้ได้รับการตรวจเชื้อ covid -19 เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังใหม่ 13 ราย สะสม 85 ราย ผู้ที่กลับจากพื้นที่เขตติดโรคอันตราย พื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่องและผู้สัมผัส สะสม 3,945 ราย กักตัวเองที่บ้าน 7,215 ราย พ้นระยะกักตัว 6,730 ราย

3165
เมื่อวันที่ 8 เม.ย. นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผวจ.ชัยภูมิ นายแพทย์วชิระ บถพิบูลย์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ ชี้แจงสถานการณ์ความคืบหน้าของการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มอีก 2 ราย คนแรกเป็นชายชาว อ.จัตุรัส อายุ 42 ปี  มีประวัติไปเป็นคนงานก่อสร้างเดินทางกลับมาจากประเทศการ์ตา ตั้งแต่วันที่ 2 เม.ย.ก่อนที่จะกลับมาที่ จ.ชัยภูมิ และได้เข้ากักตัว 14 วัน จนมีการตรวจพบว่าติดเชื้อ

รายที่ 2 เป็นหญิงชาว อ.หนองบัวแดง อายุ 38 ปี มีประวัติน่ากลับจากต่างประเทศและเคยเป็นผู้ป่วยติดเชื้อ เคสเดิมที่เคยแอดมิดรักษาตัวอยู่ที่ รพ.พญาไท 2 กรุงเทพฯ กระทั่งแพทย์ระบุว่าหายแล้ว จากนั้นวันที่ 12 มี.ค.เจ้าตัวก็เดินทางกลับมากักตัวต่อที่ อ.หนองบัวแดง ปรากฏว่าช่วงวันที่ 3 - 5 เม.ย.หญิงสาวกลับเริ่มป่วยอีกครั้ง และพอมาตรวจยืนยันปรากฎว่าพบเชื้อโควิดที่ลำคอ ต้องเข้าสู่การรักษาใหม่อีกครั้ง แต่ผลตรวจทางปอดยังปกติไม่รุนแรง ต้องเข้าสู่ขบวนการสืบสวนโรคว่าได้ไปสัมผัสใครบ้าง..

หน้า: 1 ... 209 210 [211] 212 213 ... 216