͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: JTS พุ่งแรงรับตั้งเหมือง Bitcoin โบรก ฯ มองราคาหุ้นขึ้นเกินพื้นฐาน  (อ่าน 35 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ deam205

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15564
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด

“จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็มส์” หุ้นที่ร้อนแรงสุดแห่งปี 2564 จากการประกาศแผนลงทุนตั้งเหมืองขุด Bitcoin ดันราคาหุ้นขยับพรวดจากราคาไม่ถึง 2 บาทเมื่อต้นปี กลายเป็น 55.50 บาทในปัจจุบัน คาดอนาคตหากทำได้ตามเป้าทะยานต่อ ขณะผลงานเก่ายังคาใจนักลงทุน โบรกฯ มองราคาพุ่งสูงไร้ปัจจัยพื้นฐานหนุน ราคาหุ้นควรอยู่ที่ 12-13 บาทต่อหุ้น

นับวันการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ ยิ่งได้รับการตอบรับจากนักลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะนักลงทุนรุ่นใหม่ แต่หากพิจารณาในแง่ผลตอบแทนที่เย้ายวนใจ ก็ไม่น่าแปลกใจที่เครื่องมือการลงทุนแบบใหม่นี้ จะได้รับความสนใจซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมาย โดยเฉพาะ Cryptocurrency ที่ปัจจุบันถือเป็นเครื่องมือยอดนิยมในการแสวงหาความเป็นอิสระทางการเงิน ชนิดที่เชื่อว่า “รวยเร็ว รวยไว”

ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รายงานว่าตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลปัจจุบันมีมูลค่าทั่วโลก มีมูลค่าตามมาร์เก็ตแคป (Market cap.) ประมาณ 2.34 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจัยสำคัญมาจาก การเติบโตของบิตคอยน์ (Bitcoin) ซึ่งมีมูลค่าการซื้อขายต่อวันประมาณ 136.68 พันล้านเหรียญ ทำให้สินทรัพย์ดิจิทัล สามารถให้ผลตอบแทนสูงสุดเมื่อเทียบกับหลักทรัพย์ทองคำและน้ำมัน โดยยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอีกในอนาคต และมูลค่าการซื้อขายของเหรียญต่าง ๆ จะเริ่มมีการกระจายมากขึ้นจากการเติบโตของเหรียญสกุลอื่น ๆ

แต่สิ่งที่น่าสนใจ สำหรับตลาดหุ้นไทย กับ ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในห่วงเวลานี้ คือ การที่หนึ่งในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หันมาเบนเข็มธุรกิจมุ่งหน้าสู่การทำฟาร์มเหมืองดิจิทัล จนทำให้ราคาหุ้นในระยะเวลาเพียง 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 2,231% นั่นคือ บริษัท จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็มส์ จำกัด (มหาชน) (JTS)

ต้องยอมรับว่าจากต้นปี2564 ซึ่งราคาหุ้น JTS อยู่ที่ระดับ 1.77 บาทต่อหุ้น (4ม.ค.) แต่จากนั้นราคาเริ่มไต่ระดับเพดานบินอย่างต่อเนื่อง จนสามารถทำจุดสูงสุดที่ระดับ 67.00 บาทต่อหุ้น (20ก.ค.) และที่ระดับ 62.00 บาทต่อหุ้น (27ส.ค.) จึงเริ่มอ่อนตัวลงมาต่อเนื่องจนถึงระดับ 55.50 บาทต่อหุ้นในปัจจุบัน (17ก.ย.) นำไปสู่คำถามว่าราคาหุ้น JTS ยังสามารถไต่ระดับเพดานบินขึ้นไปได้อีกมากน้อยเพียงใด หรือกำลังเข้าสู่ทิศทางขาลงแล้ว

บริษัท จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็มส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JTS เดิมทีดำเนินธุรกิจหลักคือการจัดหา ออกแบบติดตั้ง และทดสอบระบบสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศแบบครบวงจร (Total ICT Solution) เป็นบริษัทย่อยของ บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) ของ "กลุ่มโพธารามิก" ซึ่งปัจจุบันถือหุ้นใหญ่ใน JTS ด้วยสัดส่วน 32.80% โดยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2549 ในราคา IPO ในราคา 3.20 บาทต่อหุ้น

ที่ผ่านมา ในแง่ผลประกอบการในช่วงปี2560 -2562 พบว่าเติบโตไม่มากสูงสุด 142.58 ล้านบาท (ปี2561) โดยมีกำไรสุทธิ 15.15 ล้านบาท แต่พอเข้าสู่ปี 2563 ทิศทางธุรกิจของบริษัทเริ่มดูดีขึ้น เมื่อมีการลงนามในสัญญา ‘Strategic Collaboration Agreement’ กับ KT Corporation จากประเทศเกาหลีใต้ เพื่อดำเนินธุรกิจ Hyperscale Data Center และ Cloud Service ซึ่ง JTS เคยชี้แจง ว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นการเปิดตลาดคลาวด์โซลูชันอย่างครบวงจรในประเทศไทย เพื่อต่อยอดการให้บริการอื่นๆ ซึ่งรวมถึงดาต้าเซ็นเตอร์ การให้บริการโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ และการให้บริการวงจรเช่าระหว่างประเทศ (IPLC)

อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือดังกล่าวพบว่า ในภาพรวมยังอยู่ในขั้นต้นเท่านั้น เพราะบริษัทรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ ฯ ว่า ยังอยู่ระหว่างการศึกษาแผนการลงทุนใน Hyperscale Data Center, Cloud & AI และ ICT & Security Solution ร่วมกับพันธมิตรจากเกาหลีใต้ หรือกล่าวคือยังไม่มีการลงทุนอย่างจริงจังเกิดขึ้น แต่ทำไมราคาหุ้น JTS นับตั้งแต่นั้นถึงขยับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เริ่มเกิดคำถาม อะไรเป็นสาเหตุสำคัญให้ราคาหุ้นเกิดการเปลี่ยนแปลง? 

สิ่งที่น่าสนใจ นั่นคือ บริษัทออกมายืนยันว่า การร่วมลงทุนกับพันธมิตรเกาหลี ยังอยู่แค่ขั้นตอนการศึกษา พร้อมออกมายอมรับว่า มีความสนใจและศึกษาการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล เนื่องจากมองเห็นโอกาสทางธุรกิจที่สามารถต่อยอดทางด้านการเงินจากเครื่องมือทางการเงิน และเทคโนโลยีดังกล่าวได้ แต่ในช่วงเวลานั้นยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้

ต่อมา ทุกอย่างก็แจ่มแจ้งขึ้นอีก เมื่อ JTS รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯเมื่อวันที่ 10 ส.ค.ว่า การประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 6/2564 ที่ประชุมมีมติเห็นควรให้แก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ และแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 3. ของบริษัท เพื่อรองรับการประกอบธุรกิจในอนาคต โดยเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ จำนวน 1 ข้อ
นั่นคือ ข้อ 83. ประกอบธุรกิจเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี ศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล นายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล ผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี ผู้ค้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการธุรกิจหรือบุคคลทั่วไปเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัล ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินสกุลดิจิทัลหรือขายเงินสกุลเงินดิจิทัล ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงแต่ไม่จำกัด เพียงการขุด ซื้อขาย แลกเปลี่ยน สินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงการลงทุนหรือให้บริการด้านอื่นๆเกี่ยวกับธุรกรรมคริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัล (เมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว กรณีที่เป็นกิจกรรมที่ต้องได้รับอนุญาต) ให้บริการเก็บข้อมูล ประมวลผล ตรวจสอบ และยืนยันข้อมูลบนระบบโครงข่ายกระจายศูนย์กลาง ของการทำรายการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์แบบบล็อกเชน และดำเนินการค้นคว้า วิจัย พัฒนา และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกิจการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (INFORMATION TECHNOLOGY) ในการเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญในด้านวิชาการและเทคโนโลยี

พร้อมกันนี้ คณะกรรมการบริษัทเห็นควรให้เปลี่ยนชื่อและตราประทับของบริษัทฯ เพื่อให้เป็นไปตามกลยุทธ์ในการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของบริษัทเป็นชื่อภาษาไทย "บริษัท จัสมิน เทคโนโลยี โซลูชั่น จำกัด (มหาชน)" และ ชื่อภาษาอังกฤษ "Jasmine Technology Solution Public Company Limited" โดยจะเตรียมนำเสนอที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 8 ตุลาคม 2564

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่า การปรับตัวขึ้นของราคาหุ้น JTS ที่ผ่านมานั้น หนีไม่พ้นแผนการลงทุนในธุรกิจใหม่ “สินทรัพย์ดิจิทัล” นั่นเอง ขณะที่งบไตรมาส 2/64 พบว่า หลังเข้าดำเนินการซื้อหุ้นใน บริษัท จัสเทล เน็ทเวิร์ค จำกัด (JASTEL) ในอัตรา 99.99% บริษัทมีกำไรสุทธิ 37.32 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28.47 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 321.69% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

โดย บริษัท จัสเทล เน็ทเวิร์ค จำกัด ได้จัดซื้อเครื่องขุด Bitcoin ไปแล้ว 200 เครื่อง มูลค่า 50.01 ล้านบาท และจะดำเนินการลงทุนในธุรกิจเหมืองขุด Bitcoin ด้วยมูลค่าการลงทุนอีก 156 ล้านบาท จากที่ผ่านมาได้มีการทยอยสั่งซื้อเครื่องขุด Bitcoin อย่างต่อเนื่อง และจะติดตั้งให้แล้วเสร็จจำนวน 500 เครื่องภายในไตรมาสที่ 3/64 เนื่องจากบริษัทได้ศึกษาเรื่อง Bitcoin มาระยะหนึ่งแล้ว มองว่าการลงทุนดังกล่าวเป็นจังหวะและโอกาสที่ดี โดย Bitcoin ที่ขุดได้จะนำมาจำหน่ายบางส่วน และเก็บไว้บางส่วน ทำให้บริษัทฯ คาดว่าจะสามารถรับรู้รายได้จากธุรกิจนี้อย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกัน JTS ยังเตรียมขยายเฟสที่ 2 ด้วยการเสริมกำลังการขุดอีก 5,000 เครื่องในต้นปี2565 โดยเล็งใช้พื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมด้วยความพร้อมของสถานที่ และโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้า พร้อมตั้งเป้าขยายกำลังการขุดเป็น 50,000 เครื่อง ก่อน Bitcoin Next Halving ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปี 2564 ทำให้บริษัทมีกำลังการขุดรวมมากกว่า 5 Exahash/s หรือคิดเป็นประมาณ 5% ของกำลังการขุดรวมทั่วโลก และจะกลายเป็นศูนย์กลางของ Bitcoin Mining Farm ที่ใหญ่ที่สุดใน Southeast Asia

ส่วนประเด็นทางด้านผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมนั้น บริษัทยืนยันว่า การขุด Bitcoin ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใดเพราะพลังงานหลักที่ใช้ในการขุด Bitcoin คือพลังงานไฟฟ้า ซึ่งบริษัทฯใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากหน่วยงานของรัฐ ที่ได้รับการรับรองด้านสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001 นอกจากนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาในการนำพลังงานหมุนเวียน อาทิ พลังงานจากโซลาร์เซลล์ และพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ มาใช้ทดแทน ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนและรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วยพร้อมกัน 

และเพื่อยืนยันความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายลงทุน JTS รายงานว่า เมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา บริษัทได้ลงนามในสัญญาสั่งซื้อเครื่องขุด Antminer S19J Pro ล็อตแรกเป็นจำนวน 1,200 เครื่อง กับทางบริษัท Bitmain Technology Ltd. (Bitmain) ผู้ผลิตเครื่องขุดและออกแบบชิปวงจรรวมเฉพาะแอปพลิเคชัน (ASIC) ที่ใช้สำหรับการขุด Bitcoin ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และครองส่วนแบ่งทางการตลาดของเครื่องขุดมากที่สุด

โดยการจัดซื้อในครั้งนี้จะทำให้ความสามารถในการขุด หรือ Hash Rate ของบริษัทเพิ่มขึ้นอีก 120 Petahashes ต่อวินาที (PH/s) ซึ่งจะเริ่มทยอยจัดส่งและติดตั้งในช่วงต้นปีหน้า ตามแผนการขยายและเสริมความสามารถในการขุดตามที่ได้มีการประกาศไปก่อนหน้านี้ และด้วยคำสั่งซื้อใหม่นี้ ทำให้บริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายการเสริมเครื่องขุดบิตคอยน์ไปถึง 28% จากเป้าหมายที่จะมีการเพิ่มกำลังขุดเป็น 5,000 เครื่องภายในปี 2565 ซึ่งเมื่อติดตั้งและเปิดใช้งานอย่างสมบูรณ์ จะทำให้ JTS เป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมเหมืองขุดบิตคอยน์ที่ใหญ่ และมีความสามารถในการขุดมากที่สุดในประเทศไทย

สำหรับ แผนการทำธุรกิจและการลงทุน JTS ตั้งเป้าขยายกำลังการขุดเป็น 50,000 เครื่อง ก่อน Bitcoin Next Halving ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปี 2567 และด้วยกำลังการขุดนี้จะทำให้ JTS เป็นหนึ่งในเหมืองขุดบิตคอยน์ที่ใหญ่ที่สุด หรือเป็นศูนย์กลางของ Bitcoin Mining Farm ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) 

จากแผนการลงทุนธุรกิจเงินสกุลดิจิทัล " Bitcoin " ของ JTS สามารถประเมินได้ว่าในปี 2567 บริษัทจะมีเครื่องขุดจำนวน 50,000 เครื่อง ทำให้มีกำลังขุดในสัดส่วน 5% ของกำลังขุดทั้งโลก หรือจะขุดได้ปีละประมาณ 16,000 Bitcoin และหากคำนวณจากราคาบิตคอยน์ล่าสุดเหรียญละ 1,056,205 บาท ทำให้ JTS จะมีรายได้เฉพาะการขุด Bitcoin ปีละประมาณ 16,899.28 ล้านบาท ถือเป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากปัจจุบันยิ่งขึ้นไปอีก เพราะปี 2563 บริษัทมีรายได้เพียง 309.94 ล้านบาท แต่รายได้จาก Bitcoin เพียงช่องทางเดียว เท่ากับรายได้รวมของ JTS ประมาณ 50 ปี แน่นอนสิ่งที่เกิดขึ้นย่อมทำให้นักลงทุนหลายต่อหลายคนวาดฝัน เข้าครอบครองหุ้น JTS เพื่อหวังการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของราคาหุ้นในอนาคต

แต่ดูเหมือนทุกอย่างจะไม่เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ เหตุผลสำคัญหนีไม่พ้น วีรกรรมของกลุ่มจัสมินฯในอดีต โดยเฉพาะการประมูลคลื่น 4G ของ JAS (บริษัทแม่ของ JTS) ซึ่งตอนนั้นเป็นผู้ชนะประมูล แต่พอถึงวันที่ 21 มี.ค. 2559 เมื่อครบกำหนดชำระเงินงวดแรกให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) จำนวนกว่า 8,000 ล้านบาท ปรากฏว่า JAS กลับเบี้ยวไม่จ่ายเงิน และยอมให้ยึดค่ามัดจำ 644 ล้านบาท

ย้อนกลับไปในช่วงเวลานั้น ระหว่างการประมูลคลื่น 4G หุ้น JAS เคลื่อนไหวอย่างร้อนแรง นักลงทุนรายย่อยแห่เก็งกำไร เพราะคาดหวังข่าวดีการชนะประมูล และ JAS ก็ชนะจริง แต่ทิ้งการประมูลภายหลัง ทำให้ราคาหุ้นอ่อนปรับตัวลงต่อเนื่อง จากเคยถูกลากขึ้นไปประมาณ 10 บาท ปัจจุบันทรุดลงมาต่ำกว่า 3 บาท

ขณะที่ “ นายพิชญ์ โพธารามิก ผู้ถือหุ้นใหญ่ JAS “ เคยถูกสำนักงาน ก.ล.ต. ลงโทษปรับ 160 ล้านบาท ในความผิดปั่นหุ้น JAS และหุ้น บริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด(มหาชน) หรือ MONO และถูกลงโทษปรับประมาณ 60 ล้านบาท ในความผิดนำข้อมูลภายในใช้แสวงหาประโยชน์จากการซื้อขายหุ้น JTS


จึงเป็นที่มาของคำถามว่า การออกข่าวลุยธุรกิจเหมืองขุด Bitcoin จะเป็นการออกข่าว โดยมีวาระเพียงกระตุ้นราคาหุ้นหรือไม่ เพราะ Bitcoin ทั้งโลกมีจำนวนทั้งสิ้น 21 ล้านบิตคอยน์ ถูกขุดขึ้นมาแล้วกว่า 18 ล้าน Bitcoin จึงเหลืออยู่อีก 2 ล้าน Bitcoin เศษ และคำนวณกันว่า จะต้องใช้เวลาอีกประมาณ 100 ปีจึงขุดจนหมด ขณะเดียวกันการขุด Bitcoin ยังมีค่าใช้จ่ายเรื่องต้นทุนค่ากระแสไฟฟ้าที่สูงมาก จึงเป็นที่มาให้เหมืองขุดในจีนมีความได้เปรียบ เพราะทั้งภูมิประเทศที่อุณหภูมิต่ำกว่า จึงช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าลง และค่าไฟเฉลี่ยตกยูนิตละ 1 บาท ขณะที่ค่าไฟฟ้าของไทยประมาณยูนิตละ 4 บาท

ปัจจุบันรัฐบาลจีนมีนโยบายปิดเหมืองขุด Bitcoin จึงทำให้ต้องอพยพ เหมืองทั้งหมดออกนอกประเทศ และกำลังถูกจับตาว่า เหมืองเหล่านี้จะย้ายเหมืองไปประเทศไหน ขณะที่ประเทศไทยไม่มีกฎหมายห้ามตั้งเหมืองขุด ซึ่ง JTS สามารถ ตั้งเหมืองได้ แต่ก็เป็นเพียงการเพิ่มผู้ขุด Bitcoin รายใหม่ขึ้นในโลกที่จะแบ่งสัดส่วน Bitcoin ที่จะขุดจากผู้ขุดรายเก่าเท่านั้น เพราะปริมาณ Bitcoin ที่จะขุดได้ในแต่ละปีนั้นมีจำกัดเท่าเดิม เมื่อมีผู้ขุดรายใหม่ นั่นหมายถึงจะต้องแบ่งสัดส่วนจากผู้ขุดรายอื่นเท่านั้น

หากพิจารณาโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจเหมืองของของ JTS แล้ว คนในแวดวงธุรกิจเงินสกุลดิจิทัล ประเมินว่า ยังมีความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ โดยหากดำเนินการได้จริงย่อมมีผลต่อผลประกอบการและราคาหุ้นของบริษัท เพียงแต่สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตของกลุ่ม มาบั่นทอนความเชื่อมั่นต่อการตัดสินใจลงทุน

ทำให้นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า ราคาหุ้น JTS ในช่วงที่ผ่านมาปรับขึ้นร้อนแรง นั้นมีปัจจัยหนุนจากกระแสข่าวที่บริษัทสนใจลงทุนเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งตรงกับความสนใจของนักลงทุนในยุคนี้ จึงส่งผลให้เกิดกระแสเข้ามาเก็งกำไรในหุ้น JTS อย่างไรก็ตามเหตุการณ์แบบนี้คล้ายคลึงกับ หุ้นของ บมจ.เจ มาร์ท (JMART) ที่ราคาปรับขึ้นตอบรับข่าวการลงทุนเหรียญดิจิทัล "เจฟิน คอยน์" (JFIN Coin)

ดังนั้น นักลงทุนควรติดตามรายละเอียดและรูปแบบโครงการลงทุนอีกครั้ง นอกจากนี้ ราคาหุ้นปรับขึ้นค่อนข้างมากแล้ว โดยที่ไม่มีปัจจัยพื้นฐานสนับสนุน ขณะที่อัตราส่วนราคาต่อกำไร (P/E) สูงกว่า 600 เท่า อีกทั้งไม่มีการจัดทำบทวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและราคาเหมาะสมจากนักวิเคราะห์ในตลาด และหากประเมินราคาเหมาะสมจากปัจจัยบวกดังกล่าว  คาดราคาหุ้นควรอยู่ที่ 12-13 บาทต่อหุ้นเท่านั้น