͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: หุ้นชิ้นส่วนฯ จ่อกำไรนิวไฮ หลังโควิดเข้าสู่ธุรกิจดิจิทัล  (อ่าน 8 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ kaidee20

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 16451
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
หุ้นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ถูกยกให้เป็นหุ้นที่ตอบรับทั้งช่วงระบาดและหลังระบาดโควิด-19 จนทำให้กำไรและราคาหุ้นตอบรับมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (2563-2564) ซึ่งธีมใหญ่ที่รอในอนาคต(อันใกล้)ของหุ้นกลุ่มนี้น่าดึงดูดการลงทุนได้อีกแค่ไหน

ย้อนกลับไปช่วงการระบาดที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน จนปิดเมือง 2 เดือนมีผลโดยตรงต่ออุตสาหกรรมดังกล่าว เนื่องจากเป็นฐานการผลิตของบริษัทจากทั่วโลกรวมทั้งบริษัทสัญชาติจีนเป็นซัพพรายเชนให้กับ อุตสาหกรรมรถยนต์ และ     อุตสาหกรรมไฮเทคโนโลยี ผลกระทบดังกล่าวส่งมายังธุรกิจในไทยตามไปด้วย เนื่องจากหลายธุรกิจเป็นคู่ค้าที่สำคัญ

ตามมาด้วยการล็อกดาวน์ในประเทศไทย มีการทำงานและเรียนออนไลน์ ทำให้มีความต้องการเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ การเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์เพิ่มสูงขึ้นทันที จนนำไปสู่การขาดแคลนซิป จากการประสบปัญหาการขนส่งหยุดชะงัก

ดังนั้นหนุนหุ้นกลุ่มชิ้นส่วนฯ กลายเป็นดาวเด่นในช่วงปี 2563 มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรายใหญ่ในกลุ่มนี้ยกให้ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA ,บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ KCE ,บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) หรือ HANA และ บริษัท เอสวีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ SVI

กระแสหุ้นในกลุ่มชิ้นส่วนฯ กลับมาร้อนแรงอีกครั้งในปี 2564 จากการทยอยผ่อนคลายมาตรการล็อดดาวน์จนไปถึงการเปิดเมือง เปิดกิจกรรมของหลายประเทศ  หนุนการส่งออกเติบโตสูงมาก  รวมไปถึงการเข้าสู่เทรนใหญ่ของโลกอนาคต อย่าง ยานยนต์อีวี และการเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล จนกลายเป็นการดิสรัปชั่นอีกครั้ง


หุ้นชิ้นส่วนฯไม่พลาดเทรนดังกล่าวประกาศเข้าสู่ธุรกิจนี้อย่างต่อเนื่อง DELTA ปรับธุรกิจเข้าสู่สินค้าและบริการดิจิทัลเต็มตัว พร้อมกับลดต้นทุนโรงงานที่ซ้ำซ้อนและกำไรน้อยออกจากธุรกิจตั้งแต่ปี 2562 ด้วยการตัดขายบริษัทย่อยในต่างประเทศ เช่น สหรัฐ และเน้นฐานการผลิตในกลุ่มเอเชียเป็นหลัก ทำให้ลดต้นทุนและหันมาสร้างมาร์จิ้นมากขึ้น

ด้วยผลกระทบจากการปรับเกณฑ์ฟลีโฟลต ส่งผลทำให้หุ้น DELTA ลดความร้อนแรงของราคาหุ้นลงไป ในปี 2564 (ต.ค.) ราคาหุ้นให้ผลตอบแทนติดลบ 14 % พร้อมกับการคาดการณ์กำไรปี 2564 เติบโตลดลง แม้ว่าด้านธุรกิจบริษัททยอยประกาศเพิ่มธุรกิจผลิตที่ชาร์ทไฟสำหรับรถอีวีที่รองรับการเติบโตในอนาคต

HANA ได้ลงทุนบริษัท เพาเวอร์ มาสเตอร์ เซมิคอนดักเตอร์ จำกัด (PMS) ในเครือบริษัทที่เกาหลีใต้เพิ่มกลายเป็น 100 ล้านดอลลาร์ เพื่อผลิตซิลิคอนคาร์ไบด์ (SiC) และ SiC power devices ซึ่งใช้งานในยานยนต์ไฟฟ้า และคลาวด์ คอมพิวเตอร์ ผู้บริหารคาดว่า ยอดขายของธุรกิจ PMS ในปี 2565 – 2068 จะเติบโตจากกระแสการตอบรับที่ดีจากลูกค้าและบริการ Foundry โดย ที่ในระยะแรกจะเน้นการขยายตลาดในจีนและเกาหลีใต้ซึ่ง HANA มีความได้เปรียบ และมีอัตราการใช้ EV ที่สูง ส่งผลทำให้ราคาปี 2564 ให้ผลตอบแทน 101.26% และคาดกำไรปี 2564 อยู่ที่ 2,360 ล้านบาท

สำหรับ KCE เป็นบริษัทผลิตและส่งออก 100 % แผ่นพิมพ์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า PCB ซึ่งถือได้ว่าติดอันดับต้นๆ ของโลกกลุ่มลูกค้าหลักเป็นกลุ่มยานยนต์ 80 % อานิสงค์จากตลาดยานยนต์ในยุโรป ความต้องการอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์และการขนส่งที่มีปัญหาจากการขาดแคลนตู้ขนเทนเนอร์ทำให้มีคำสั่งซื้อมาล่วงหน้าลากยาวไปจนถึงปลายปี 2564 ทำให้ KCE สามารถปรับราคาขายขึ้นได้ตามความต้องการที่ล้น ส่งผลทำให้ราคาปี 2564 ให้ผลตอบแทน 109.64% คาดกำไรปี 2564 อยู่ที่ 2,400ล้านบาท


สุดท้าย SVI ที่อยู่ในกลุ่มสินค้าเซมิคอนดัคเตอร์โดยตรง เช่นวงจรไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เข้าซื้อหุ้น ‘โทโฮกุ ไพโอเนียร์ (ประเทศไทย) ’ เพื่อบริหารต้นทุนอุปกรณ์ต้นน้ำสำหรับการประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดต้นทุนจากการนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งจากประเทศจีน ประเทศมาเลเซียและประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งและความเสี่ยงด้านซัพพราย จะทำให้เพิ่มกำไรขั้นต้น 2-3 % ที่ผ่านมาราคาหุ้น SVI เพิ่มขึ้น 30.84 % และคาดการณ์กำไรปี 2564 อยู่ที่ 693 ล้านบาท