͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: เจาะแผน บุรีรัมย์โมเดล ปิดเมือง สู้โควิด-19 ยอมเจ็บเพื่อจบ  (อ่าน 352 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ PostDD

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14905
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
นำร่องจังหวัดแรก บุรีรัมย์ เข้มข้นทุกภาคส่วน ป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 "ปิดเมืองด้วยมาตรการสาธารณสุข" คัดกรองผู้ที่เดินทางเข้าออกจังหวัดทุกช่องทาง ยอมเจ็บเพื่อให้จบ ดีกว่าจบแล้วเจ็บ..

ภายหลัง นายธัชกร หัตถาธยากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ แถลงผลการประชุมติดตามคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อในระดับจังหวัด  หารือวางมาตรการควบคุมป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่งสถานการณ์ในปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคไปทั่วโลก ในประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อสะสม 144 ราย เสียชีวิต 1 ราย ในส่วนพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ยังไม่พบการแพร่ระบาด

อย่างไรก็ตาม ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน "มีความจำเป็นต้องมีมาตรการเข้มข้นเพื่อให้คนบุรีรัมย์และผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์มีความเชื่อมั่น" โดยมีมาตรการดังนี้

รวมพลังสู้โรคระบาดด้วยมาตรการสาธารณสุข

ให้การคัดกรองไข้ ผู้ที่เข้ามาในจังหวัดบุรีรัมย์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชาวต่างชาติ ผู้ที่กลับมาจากต่างประเทศ ต่างจังหวัด ได้แก่ การคัดกรองไข้ที่สนามบิน สถานีรถไฟโรงแรมที่พัก และหมู่บ้านด้วย กิจกรรม นายก อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. เคาะประตูบ้าน มีระบบการลงทะเบียนติดตามเฝ้าระวังไข้ ตลอด 14 วัน เริ่มตั้งแต่เข้ามาในจังหวัดบุรีรัมย์ และเชื่อมโยงระบบเฝ้าระวังสาธารณสุขต่อไป

เลิก-เลื่อน กิจกรรมที่มีคน ตั้งแต่ 50 คน

มาตรการหยุดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายโรค โดยยกเลิกหรือเลื่อนกิจกรรมการชุมนุมคนจำนวนมาก ตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป เช่นยกเลิกหรือเลื่อนการจัดประชุมสัมมนา กิจกรรมบันเทิง สันทนาการ จัดงานประเพณี การเรียนภาคฤดูร้อน การเรียนพิเศษ การกวดวิชา บวชเณรภาคฤดูร้อน งดตลาดนัด ตลาดเซราะกราว ตลาดคลองถม หากมีกิจกรรมจำเป็นไม่สามารถยกเลิกหรือเลื่อนได้ ต้องแจ้งและขออนุญาตต่อนายอำเภอ

ทุกอย่างต้องดำเนินการ "อย่างเข้มข้น"

พร้อมกันนี้ ให้มีการดำเนินการตามมาตรการของสาธารณสุข อย่างเข้มข้น เช่น คัดกรองไข้ และปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล สนับสนุนให้มีการใช้หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ และการจัดระยะห่างระหว่างบุคคลไม่น้อยกว่า 1 เมตร สนับสนุนให้มีช้อนกลางส่วนบุคคลสำหรับประชาชนทั่วไป โดยให้ร้านอาหารจัดให้มีช้อนกลางส่วนบุคคลในการรับประทานอาหารร่วมโต๊ะ ต้องมีถ้วยแบ่งน้ำจิ้มส่วนบุคคลสำหรับลุกขึ้นยืนกิน เป็นต้น

ทุกรพ. ต้องพร้อมรับ "การระบาดเข้าสู่ระยะที่ 3"

มาตรการการเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์ ด้านการรักษา ได้มีการจัดหอผู้ป่วยยืนยันการวินิจฉัย โดยมีห้องแยก ห้องความดันลบ (Negative Pressure) ในทุกโรงพยาบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยหากการระบาดเข้าสู่ระยะที่ 3 ได้มีการเตรียมความพร้อม ได้แก่ ห้องแยก จำนวน 12 ห้อง, Cohort ward (หอผู้ป่วยรวมแยกโรค) 20 เตียง, ICU

มีทีมสอบสวน-ควบคุมโรค ครบทุกอำเภอ

ด้านการสอบสวนป้องกันควบคุมโรค ได้มีทีมหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ (CDCU) ระดับจังหวัด โดยมีแพทย์เฉพาะทางที่ผ่านการอบรม ระบาดวิทยาจำนวน 4 คน และมีทีม CDCU ระดับอำเภอครบทั้ง 23 อำเภอ ซึ่งสามารถให้ความมั่นใจกับประชาชนชาวบุรีรัมย์ และผู้ที่จะเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์ได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ได้ทันเวลา

"เนวิน" พร้อมเปิดโรงแรม รองรับผู้ป่วยหนัก

สำหรับผู้ป่วยหนัก 3 เตียง มีในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ และได้รับการสนับสนุนจากโรงแรม BRC BOX ซึ่งสามารถจัดให้เป็นห้องแยกระบบปิด จำนวนถึง 80 ห้อง โดยได้รับการสนับสนุนจากประธานสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ทำให้จังหวัดบุรีรัมย์ มีความสามารถในการรองรับผู้ป่วยยืนยันการวินิจฉัยได้มากถึง 115 คน

ทั้งนี้ ขอฝากการรณรงค์ที่สำคัญที่จะสามารถลดการแพร่กระจายโรคมายังจังหวัดบุรีรัมย์ได้โดยการขอความร่วมมือด้วยคำสำคัญนี้ "รักพ่อห่วงแม่ทำได้ด้วยการ ไม่เดินทางสงกรานต์ เพื่อหยุดโควิด 19"

นายธัชกร หัตถาธยากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวอีกว่า "ฝากถึงพี่น้องประชาชนชาวบุรีรัมย์ ผู้ประกอบการ สถานบันเทิง โรงแรมต่างๆ ช่วยกันให้ร่วมมือกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ เรามาช่วยกัน เรายอมเจ็บ เพื่อให้จบ ดีกว่าจบแล้วเจ็บ"